เครื่องวัดแรงดึงน้ำของดินสำหรับบันทึกพลังงานความดันของน้ำในดิน

Main Article Content

ภูมิพัฒน์ ก๋าคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาเครื่องวัดแรงดึงน้ำของดินสำหรับบันทึกค่าพลังงานความดันของน้ำในดิน เครื่องวัดนี้มีประโยชน์ในการตรวจวัดปริมาณน้ำในดิน สำหรับควบคุมการให้น้ำพืชด้วยวิธีการรักษาน้ำในดินให้อยู่ ในระดับที่รากพืชสามารถดูดใช้ได้ง่าย เครื่องวัดแรงดึงน้ำของดินพัฒนาขึ้นจากบอร์ดอาดุยโน บอร์ดตัวลงบันทึกข้อมูล โมดูลจอภาพผลึกเหลว เซนเซอร์ความดัน และอุปกรณ์วัดแรงดึงน้ำของดินชนิดเติมน้ำ เครื่องวัดนี้อาศัยแหล่งพลังงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ตัวควบคุมการประจุ และแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว - กรด อุปกรณ์วัดแรงดึงน้ำของดินชนิดเติมน้ำประกอบขึ้นจากท่อน้ำพีวีซี กระเปาะพรุนดินขาว และเซนเซอร์ความดัน ค่าพลังงานความดันของน้ำในดินที่วัดได้ในช่วงเวลานั้นจะแสดงบนจอภาพผลึกเหลว และถูกบันทึกลงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบเอสดีการ์ดในรูปแบบตารางซึ่งใช้เครื่องหมายจุลภาคแบ่งข้อมูลแต่ละคอลัมน์ เครื่องวัดแรงดึงน้ำของดินที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานได้โดยปราศจากความผิดปกติตลอดช่วงเวลาที่ติดตั้งทดสอบในสวนมะม่วงเป็นเวลา 2 เดือน ระหว่างต้นเดือนกันยายน ถึง ต้นเดือนพฤศจิกายน 2562 ผลการวิจัยพบว่าเครื่องวัดที่พัฒนาขึ้นสามารถวัดและบันทึกข้อมูลพลังงานความดันของน้ำในดินได้เป็นอย่างดี โดยมีการตอบสนองที่ดีต่อความเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในดิน ซึ่งสังเกตได้จากค่าพลังงานความดันของน้ำในดินบันทึกได้ในช่วงเวลาที่ฝนตก

Article Details

How to Cite
[1]
ก๋าคำ ภ., “เครื่องวัดแรงดึงน้ำของดินสำหรับบันทึกพลังงานความดันของน้ำในดิน”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 12, ฉบับที่ 1, น. 41–52, พ.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Department of Agricultural Extension, Ministry of Agricultural and Cooperatives. Natural disasters 2012-2016 [internet]. 2017 [cited 2019 December 20] available from: http://www.agriinfo.doae.go.th/ 5year/diaster/diaster55-59.pdf (in Thai)

Harrison K. Irrigation scheduling methods. Department of Biological and Agricultural Engineering.

The University of Georgia. Bulletin 974. 2009.

Yingjajaval S. For understanding about watering plants. AG-BIO Newsletter. 2010; 2(1): p. 14-7. (in Thai)

Abdal El Marazky MS, Mohammad FS, and Al-Ghobari HM. Evaluation of soil moisture sensors under intelligent irrigation systems for economical crops in Arid regions. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 2011; 6(2): 287-300.

Abhijit D, Malaya C, and Sreedeep S. A Study on tensiometer measurements in Salt Laden soil used for irrigation scheduling. Geotech Geol Eng. 2013; 31: 1349–57.

Yingjajaval S., Paiboon P. and Chuennakorn P. Tensiometer. Center for Agricultural Biotechnology. Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus. 2017. (in Thai)

Kirkham MB. Principle of Soil and Plant Water Relations. 2nd edit. Academic Press. 2014.

Smajstrla AG, and Harrison DS. Tensiometers for soil moisture measurement and Irrigation scheduling. Institute of food and agricultural sciences, University of Florida. 2011.

Thalheimer M. A low-cost electronic tensiometer system for continuous monitoring of soil water potential. Journal of Agricultural Engineering. 2013; 44(16): 114-9.

Panasonic. Pressure sensor [internet]. 2015 [cited 2019 January 9] available from: http://www.panasonic.com

Warrick AW, Wierenga PJ, Young MH, and Musil SA. Diurnal fluctuations of tensiometer of tensiometric readings due to surface temperature changes, Water Resource. Res. 1998; 34: 2893-99.

Yingjajaval S. A catalogue of water retention functions of major soil series of Thailand. Department of Soil Science, Kasetsart University Publication. Kasetsart University, Kamphaeng Saen. 1993.