การพัฒนาต้นแบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเพาะปลูกพืชผัก ออแกนิคในโรงเรือนสำหรับเกษตรกรสูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อชินี พลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจและความต้องการของผู้ใช้ต่อระบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเพาะปลูกผักในโรงเรือน 2) พัฒนาต้นแบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเพาะปลูกผักออแกนิคในโรงเรือนสำหรับเกษตรกรสูงอายุ และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเพาะปลูกผักในโรงเรือน กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
1) ระบบต้นแบบ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 3) แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาพรวมเกษตรกรสูงอายุยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเพาะปลูกพืชผักในโรงเรือนในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} = 2.32) ในส่วนของความต้องการระบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเพาะปลูกพืชผักในโรงเรือนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.42)  2) ผลการพัฒนาต้นแบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเพาะปลูกผักออแกนิคในโรงเรือนสำหรับเกษตรกรสูงอายุ พบว่า ระบบสามารถควบคุมการรดน้ำได้โดยใช้พีแอลซีทามเมอร์กำหนดเวลาการทำงานของระบบรดน้ำอัตโนมัติ ระบบจะส่งสัญญาณเพื่อสั่งเปิดปั๊มน้ำรดผักในโรงเรือนเป็นเวลา
30 นาที หรือเมื่อมีความชื้นต่ำกว่าที่กำหนดไว้ การตรวจสอบค่าอุณหภูมิและความชื้นโดยชุดไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสามารถแสดงผลบนจอแอลซีดี สมาร์ทโฟน และส่งข้อมูลไปจัดเก็บที่โมดูล SD card 3) ความพึงพอใจของผู้สูงอายุต่อการใช้งานระบบ พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ โครงสร้างของโรงเรือน อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.70) ระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยลดการใช้แรงงานสำหรับเกษตรกรผู้สูงอายุ

Article Details

How to Cite
[1]
พลสวัสดิ์ อ., “การพัฒนาต้นแบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับการเพาะปลูกพืชผัก ออแกนิคในโรงเรือนสำหรับเกษตรกรสูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 12, ฉบับที่ 1, น. 1–14, พ.ค. 2022.
บท
บทความวิจัย

References

Wongbongkotpaisan J, Angkanarungrat R, Saetung A, Keawon R, Choorak C, Pliamsup P, Paponpen K. Programming of Testing the Temperature and Soil Moisture for Intelligent Farming Using Growing of Organic Vegetables. 11th ECTI-CARD 2019. Ubon

Pantawong K, Ranokphanuwat R. Hydroponic Greenhouse Automation [Internet]. 2017. [cited 2020 January 7]. available from: https://cite.dpu.ac.th/upload/content/files/Paper_59/Re-030-58-59.pdf (in Thai)

Kadyai. How does temperature affect plant growth [Internet]. 2018. [cited 2020 January 7].

available from: https://kadyai.com/อุณหภูมิ-plant-temperature/ (in Thai)

Tongaram D. Cropping without using soil. Bangkok: Pimdee Printing House. (2007). (in Thai)

Chaoumead A, Phangkeio D. Soil Moisture Control System for Melon Cultivation in Greenhouse. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal. 2020; 11(2): p. 269-78. (in Thai)

Viboonpanich R. The development of plant caring system for elderly to encourage convenience with the Internet of Things (IoTs) technology. 8th BENJAMITRA Network National & International Conference. Thonburi University, Bangkok; 2018. p. 25-34. (in Thai)

Namhormchan T. PLC-Based Automatic Control System of Temperature and Relative Humidity in Soilless Culture Greenhouse with an Evaporative Cooling System and Fogging System. EAU HERITAGE Journal Science and Technology. 2014; 8(1): p. 98-111. (in Thai)

Thongpan N, Tiangpak T. Automatic Watering System via Wireless Sensor Network. 2th National Conference on Technology and Innovation Management. Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham; 2016. p. 77-84. (in Thai)

Bhongle, S.K. Greenhouse Automation for Agriculture Using PLC & SCADA. International Journal of Innovative Research in Science, Engineering and Technology. 2016; 5(12): p. 20461-5