การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยจุลสาหร่าย คลอโรคอคคัม ฮิวมิโคล่า ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้แสงแบบอากาศยก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้จุลสาหร่ายน้ำจืดสีเขียวสายพันธุ์คลอโรคอคคัม ฮิวมิโคล่า บำบัดน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ภายใต้สภาวะแบบกะ 14 วัน รักษาอุณหภูมิของน้ำเสียสังเคราะห์ให้อยู่ในช่วง 28 ถึง 32 องศาเซลเซียส และพีเอชในช่วง 6.0 ถึง 9.0 โดยปัจจัยที่ศึกษา คือ (1) ความหนาแน่นเริ่มต้นของเซลล์จุลสาหร่ายที่มีค่าความขุ่นของเซลล์ในช่วง 0.1 ถึง 0.3 ซึ่งทำการเพาะเลี้ยงในขวดรูปชมพู่ที่มีปริมาตรน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ 500 มิลลิลิตร และ (2) อัตราการป้อนอากาศที่มีความเร็วผิวในช่วง 0.1 ถึง 0.3 เซนติเมตรต่อวินาที เข้าสู่ระบบการเพาะเลี้ยงซึ่งทำการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้แสงแบบอากาศยกที่มีปริมาตรน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ 10 ลิตร ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าที่ค่าความขุ่นของเซลล์เริ่มต้นเท่ากับ 0.3 มีความเหมาะสมมากที่สุดในการบำบัดน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์เนื่องจากสามารถลดปริมาณของไนเตรท ฟอสเฟต และค่าซีโอดี ให้มีค่าตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งโดยใช้เวลาสั้นที่สุดเพียง 6 ถึง 8 วัน ในขณะที่สภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้แสงแบบอากาศยกคือค่าความขุ่นของเซลล์เริ่มต้นมีค่าเท่ากับ 0.3 และอัตราการป้อนอากาศที่มีความเร็วผิวเท่ากับ 0.3 เซนติเมตรต่อวินาที โดยสามารถลดปริมาณของไนเตรท ฟอสเฟต และค่าซีโอดี ให้มีค่าตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งได้โดยใช้เวลา 5 ถึง 7 วัน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการบำบัดน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้แสงแบบอากาศยกมีประสิทธิภาพสูงกว่าในขวดรูปชมพู่ เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้แสงแบบอากาศยกมีประสิทธิภาพในการกวนผสมซึ่งส่งผลให้มีการถ่ายเทมวลระหว่างเฟสของเหลวและก๊าซได้มากกว่า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Phuprasert C. Effect of COD : nitrogen removal from domestic low strength wastewater by using activated sludge process [thesis]. Bangkok; Chulalongkorn University; 1995. (in Thai)
Yeamchawee P. Secondary treated domestic wastewater quality improvement by using small duckweed (Lemna perpusilla Torr.) [thesis]. Bangkok; Thammasat University; 2003. (in Thai)
Monfet E, Unc A. Defining wastewaters used for cultivation of algae. Algal research. 2017.
Kunyawut C, Paopo I, Krommuang A. Development of a Bubble Column Photobioreactor for Microalgal Culture. Burapha Science Journal; 2019; 24(2): p. 471-88. (in Thai)
Pewluang K. Study of air-lift reactor for turbidity removal in water [thesis]. Bangkok; Chulalongkorn University; 2009. (in Thai)
Boonyaprasit T. Orchid culture in air lift reactor [thesis]. Bangkok; Chulalongkorn University; 2004. (in Thai)
Kadic E, Heindel T. An introduction to bioreactor hydrodynamics and gas-liquidmass transfer. New Jersey: Wiley; 2014.
Krichnavaruk S. Scaleup of an airlift bioreactor for cultivation of diatom, Chaetoceros calcitrans [thesis]. Bangkok; Chulalongkorn University; 2005.
Phuphaibul P. Effects of aeration rate and light wavelength on growth and carotenoids production in microalga Chlorococcum humicola in photobioreactor [thesis]. Bangkok; Chulalongkorn University; 2016. (in Thai)
Griffiths M, Harrison S. Lipid productivity as a key characteristic for choosing algal species for biodiesel production. Journal of Applied Phycology. 2009; 21(5): 493-507.
Chaichalerm S, Pokethitiyook P, Yuan W, Meetam M, Sritong K, Pugkaew W, Kungvansaichol K, Kruatrachue M, Damrongphol P. Culture of microalgal strains isolated from natural habitats in Thailand in various enriched media. Applied Energy. 2012; 89(1): 296-302.
Arbib Z, Ruiz J, Álvarez-Díaz P, Garrido-Pérez C, Perales J. Capability of different microalgae species for phytoremediation processes: Wastewater tertiary treatment, CO2 bio-fixation and low cost biofuels production. Water Research. 2014; 49(1): 465-74.
Boussiba S, Fan L, Vonshak A. Enhancement and determination of astaxanthin accumulation in green alga Haematococcus pluvialis. Methods in Enzymology. 1992; 213: 386-91.
Lu L, Yang G, Zhu B, Pan K. A comparative study on three quantitating methods of microalgal biomass. Indian Journal of Geo-Marine Sciences. 2017; 46(11): 2265-72.
Vaičiulyte S, Padovani G, Kostkeviciene J, Carlozzi P. Batch Growth of Chlorella Vulgaris CCALA 896 versus Semi-Continuous Regimen for Enhancing Oil-Rich Biomass Productivity. Energies. 2014; 7(6): 3840-57.
Noophan P, Chaichana R. Effects of nitrogen and phosphorus on eutrophication in water bodies and nitrogen and phosphorus removal. Kasetsart Engineering Journal; 2014; 88: p. 57-67.
(in Thai)
Krichnavaruk S, Loataweesup W, Powtongsook S, Pavasant P. Optimal growth conditions and the cultivation of Chaetoceros calcitrans in airlift photobioreactor. Chemical Engineering Journal. 2005; 105(3): 91-8.