การพัฒนาระบบเตือนภัยแหล่งน้ำโดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน จากฐานข้อมูลของสำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ 2) พัฒนาระบบเตือนภัยแหล่งน้ำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน และ 3) ประเมินคุณภาพระบบเตือนภัยแหล่งน้ำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ตโฟน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ
ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำและเกษตรกรจำนวน 50 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบเตือนภัยแหล่งน้ำ 2) แบบประเมินคุณภาพฟังก์ชันการทำงานของระบบเตือนภัยแหล่งน้ำ และ 3) แบบประเมินคุณภาพระบบเตือนภัยแหล่งน้ำ สถิติที่ใช้ในการวิจัยเป็นสถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนที่ 1 ระบบเตือนภัยควรแบ่งการปฏิบัติงานออกเป็น 9 ฟังก์ชัน ประกอบด้วย การเตือนสถานการณ์น้ำ การแสดงแผนที่ปริมาณน้ำ การรายงานสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการน้ำในอ่าง การรายงานสภาพน้ำท่า การรายงานปริมาณน้ำฝน การแสดงผังการติดตามน้ำ การแสดงแผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง/ฝน และการแจ้งเตือนข้อมูลน้ำแล้ง/น้ำท่วม ขั้นตอนที่ 2 ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อคุณภาพการทำงานของฟังก์ชัน พบว่า ภาพรวมของระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี ( = 4.41, S.D. = 0.17) ทั้งในด้านความครบถ้วนสมบูรณ์ รูปแบบการแสดงผล ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ความสะดวกในการใช้งาน และความเป็นประโยชน์ ขั้นตอนที่ 3 ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการทดลองใช้งานและประเมินคุณภาพของระบบเตือนภัยแหล่งน้ำ พบว่า ภาพรวมของระบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี ( = 3.94, S.D. = 0.11) ทั้งในด้านความทันสมัย ความครอบคลุมและถูกต้องตรงกับความต้องการ
ความยืดหยุ่นและความสะดวก ความสวยงามและความเป็นประโยชน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
[2] Srisa-Ard B. Research Methodology. (6th ed.). Bangkok: Suweeriyasarn; 2002. (in Thai)
[3] Rutaichanok J. "Smart Farmer" just a new concept or will turn the Thai agriculture [Internet]. 2017 [cited 2017 December 20]. available from: http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1074-img.pdf. (in Thai)
[4] Sangsrijan T. Use of Geographic Information System for Soil Survey and Classification in Mae Suk and Mae Kong Kha Watersheds, Mae Chaem District, Chiang Mai Province [Master’s Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2009. (in Thai)
[5] Preechapanic O. System Analysis and Design. Nonthaburi: IDC Premier; 2014. (in Thai)
[6] Rodkorh C. The Development of the Management Information System for Thesis Submission Process in Graduate School Srinakharinwirot University [Master’s Thesis]. Bangkok: Srinakharinwirot University; 2012. (in Thai)
[7] Shukla M.M. and Asundi J. Considering emergency and disaster management systems from a software architecture perspective. Int. J. System of Systems Engineering. 2012; 3(2): 129–141.
[8] Office of Agricultural Economics. The Agricultural Development Plan under the Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021) [Internet]. 2016 [cited 2018 January 5]. available from URL: www.oae.go.th/download/journal/development plan2559.pdf.
(in Thai)