การพัฒนาระบบอัจฉริยะเพื่อการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สรายุทธ พรเจริญ
อัยรดา พรเจริญ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบอัจฉริยะสำหรับวางแผนการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในจังหวัดอุบลราชธานี และ 2) เพื่อประเมินผลระบบอัจฉริยะ ประชากร คือ นักศึกษาจำนวน 1,500 คน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนขั้นต่ำ 384 คน โดยใช้วิธีการของรอสโค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แอพเซิร์ฟ 2.5 และแบบสอบถามในการประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ระบบอัจฉริยะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ส่วนนำเข้า ประกอบด้วยฟังก์ชันในการกำหนดเงื่อนไขให้กับระบบ ได้แก่ จำนวนแผนการท่องเที่ยว อำเภอต้นทางและปลายทาง สถานที่ท่องเที่ยว และจุดบริการระหว่างทาง 2) ส่วนประมวลผล ประกอบด้วยฟังก์ชันในการจับคู่ข้อมูลการท่องเที่ยวในฐานข้อมูลกับเงื่อนไขต่าง ๆ และ 3) ส่วนผลลัพธ์ประกอบด้วยฟังก์ชันการแสดงผลรายละเอียดแผนการท่องเที่ยวทั้งหมด ผู้วิจัยได้ทำการประเมินผลระบบใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านที่หนึ่ง การประเมินความสามารถในการใช้งานได้ของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และด้านที่สองการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ จำนวน 400 คน ผลการประเมินระบบด้านที่หนึ่งพบว่า 1) ระบบมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก และ 3) ระบบมีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินระบบด้านที่สอง พบว่า 1) ระบบนี้มีวัตถุประสงค์ชัดเจน เพื่อช่วยในการวางแผนเส้นทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายตามความต้องการ 2) ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบได้เป็นอย่างดีด้วยตนเอง และ 3) การออกแบบองค์ประกอบในการจัดวาง เช่น รูปภาพ ปุ่มสัมผัส มีความเหมาะสมใช้งานง่าย

Article Details

How to Cite
[1]
พรเจริญ ส. และ พรเจริญ อ., “การพัฒนาระบบอัจฉริยะเพื่อการวางแผนการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ในจังหวัดอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 9, ฉบับที่ 2, น. 37–48, ก.ย. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Tourism Development Office. The Strategies and Policies. Bangkok: Ministry of Tourism and Sports; 2016. (in Thai)
[2] National Statistical Office. Situation to Domestic Traveler Whole Kingdom 2012-2016. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society; 2018. (in Thai)
[3] National Electronics and Computer Technology Center. License Plate Recognition System. NECTEC eNEWSLETTER. 2016; 46: 1-2. (in Thai)
[4] Phorncharoen S, Phorncharoen I. Decision Support System for Generating Tourism Plan with Flexible Cost of Travelers: A Case Study of Pakse City in the Lao People’s Democratic Republic. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2018; 8(1): 25-35. (in Thai)
[5] Chaobangprom K. Decision Support System for Master Production Scheduling and Material Requirement Planning: A Case Study of Flavor Squid Factory [thesis]. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2011. (in Thai)
[6] Chanthima S, Tetiwat O. The Development of Student Administration System with Web- based application: A Case Study of Ban Tak Industrial and Community Education College. Academic Journal of Science and Technology Nakhonsawan Rajabhat University. 2015; 7: 1-15. (in Thai)
[7] Manassewee A. Development of Web-based Decision Support System for Japanese Accommodation Selection: Sri Racha Case Study [thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2013. (in Thai)
[8] Angsakul T, Angsakul J. The Development of Personalized Recommendation System for Travel Destination in Thailand for International Tourist Persuasion. Bangkok: National Research Council of Thailand; 2014. (in Thai)
[9] Chongmuenwai B. The Development of A Decision Support System for Managers in Garment Industry [thesis]. Nakhonratchasima: Suranaree University of Technology; 2010. (in Thai)
[10] Mumanawong P, Ratanasiriwongwut M. Information System to Decision Support for School Executives. Bangkok: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok; 2012. (in Thai)
[11] Roscoe J. Fundamental Research Statistics for the Behavioral Sciences. New York: Holt,Rinehart, & Winston; 1975