การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบตอบสนองสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบตอบสนองสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เป็นการพัฒนาในรูปแบบของแอ็ปพลิเคชันซึ่งเป็นเครื่องมือหรือวิธีการสอนรูปแบบใหม่สำหรับครูผู้สอนในช่วงชั้นปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้แบบตอบสนองสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ในการพัฒนาระบบได้นำเอาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ครอบคลุมทักษะทั้ง 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ ตัวเลขอารบิก เรขาคณิต เครื่องใช้ภายในบ้าน และหน่วยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พัฒนาให้อยู่ในรูปแบบภาพจำลองเป็นโมเดล 3 มิติ สร้างเป็นแอ็ปพลิเคชันให้สามารถใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนบนระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ได้ ในการประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาสื่อและด้านการพัฒนาสื่อ จากผลวิจัยพบว่า มีความพึงพอใจด้านเนื้อหาสื่ออยู่ในเกณฑ์พึงพอใจระดับมาก ( = 4.20, S.D. = 0.51) ส่วนด้านการพัฒนาสื่ออยู่ในเกณฑ์พึงพอใจระดับมาก ( = 4.03, S.D. = 0.67) เช่นเดียวกัน และจากการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งานหรือกลุ่มของครูผู้สอนพบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจ การใช้งานแอ็ปพลิเคชันอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.50) ซึ่งแอ็ปพลิเคชันนี้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน และทำให้ผู้สอนมีวิธีการสอนใหม่ขึ้นจากการเรียนในรูปแบบเดิม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
Amaia, A. M., Iñigo, A. L., Jorge, R. L. B., & Enara, A. G. Leihoa: A window to augmented reality in early childhood education. In 2016 International Symposium on Computers in Education (SIIE); 2016. p. 1-6.
Cortés-Dávalos A., Mendoza S. Layout planning for academic exhibits using Augmented Reality, 2016 13th International Conference on Electrical Engineering, Computing Science and Automatic Control (CCE), Mexico City, Mexico; 2016. p. 1-6.
Kedsupap C. A Development of Reading Comprehension Achievement of Prathomsuksa 5 Students Using PQ4R Technique. Journal of MCU Buddhapanya Review, 2018; 3(2): 157-70.
Ministry of Education. Early Childhood Education 2017. Bangkok: Office of Academic Affairs and Education Standards Ministry of Education; 2017. (in Thai)
Tuntirojanawong S. Direction of Educational Management in the 21st Century. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 2017; 10(2): 2843-54.
Wikipedia. [Internet]. Augmented reality. [Cited November 28, 2017]. Available form http://en. wikipedia.org/wiki/Augmented_reality. (in Thai)
Cheng S. H., Chu H. C. An Interactive 5E Learning Cycle-Based Augmented Reality System to Improve Students' Learning Achievement in a Microcosmic Chemistry Molecule Course. In: 2016 5th IIAI International Congress on Advanced Applied Informatics (IIAI-AAI). IEEE; 2016. p. 357-60.
Oh, Y. J., Suh, Y. S., Kim, E. K. Picture puzzle augmented reality system for infants creativity. 8th International Conference on Ubiquitous and Future Networks (ICUFN). IEEE; 2016. p. 343-46.