การออกแบบและพัฒนาเครื่องฟักไข่นกกระทาด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ

Main Article Content

อชินี พลสวัสดิ์
ศุภาวีร์ มากดี
ธิติพร ชาญศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

     การเพาะเลี้ยงนกกระทาของเกษตรกรจังหวัดยโสธร เพื่อขายลูกนกกระทาและไข่นกกระทา การฟักไข่ที่ดัดแปลงมาจากเครื่องฟักไข่ไก่ซึ่งจะมีถาดสำหรับวางไข่ที่ใหญ่กว่าไข่นกกระทา เกษตรกรคอยตรวจเช็คอุณหภูมิภายในเครื่องโดยการเปิด - ปิดฝาตู้ ความชื้นที่ต้องใช้ถาดน้ำวางไว้ภายในเครื่อง การขยับไข่โดยใช้มือลูบไข่ให้กลับด้านทุก ๆ 4 ชั่วโมง ซึ่งหากขาดการดูแลอย่างสม่ำเสมอส่งผลต่อระยะเวลาที่นานขึ้นและปริมาณการฝักไข่เป็นตัวได้น้อย จากปัญหาดังกล่าวการที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการฟักไข่โดยใช้เครื่องฟักไข่นกกระทาด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติจะช่วยให้การฟักไข่ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยครั้งนี้ ได้ออกแบบและพัฒนาเครื่องฟักไข่นกกระทาด้วยระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ เปรียบเทียบผลการฟักไข่ด้วยเครื่องแบบเดิมกับเครื่องฟักไข่นกกระทาด้วยระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ ผลการวิจัยพบว่า เครื่องฟักไข่นกกระทามีขนาด 50 x 50 x 80 เซนติเมตร ทำงานได้ด้วยไฟฟ้ากระแสสลับที่ 220VAC การควบคุมอุณหภูมิทำงานอัตโนมัติสามารถควบคุมความร้อนภายในเครื่องให้อยู่ระหว่าง 36.9 - 37.7 องศาเซลเซียส ด้วยการใช้ฮีสเตอร์ทำความร้อน และกระจายความร้อนด้วยพัดลม การควบคุมความชื้นอยู่ที่ 50 – 60% ใช้เครื่องพ่นหมอกเพื่อให้ความชื้นและใช้พัดลมระบายอากาศออกอัตโนมัติเมื่อความชื้นมีค่าเกินกว่ากำหนด แผงไข่ใช้มอเตอร์ในการขยับโดยใช้อุปกรณ์พีแอลซีในการตั้งเวลาของมอเตอร์ให้ทำงานทุก ๆ 4 ชั่วโมง ขยับครั้งละ 15 นาที การทดลองฟักไข่นกกระทาด้วยเครื่องฟักไข่นกกระทาแบบอัตโนมัติ จำนวน 300 ฟอง มีอัตราการฟักไข่ออกมาเป็นลูกนกกระทาจำนวน 238 ฟอง คิดเป็นร้อยละ 79.33 เครื่องที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้คงที่ได้ มีการกลับไข่อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ เครื่องยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรในการเลี้ยงและประหยัดเวลาในการทำงานอีกด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
พลสวัสดิ์ อ. . ., มากดี ศ. . ., และ ชาญศิริวัฒน์ ธ. . ., “การออกแบบและพัฒนาเครื่องฟักไข่นกกระทาด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 10, ฉบับที่ 2, น. 125–138, ต.ค. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

Srina S. Japanese quail. Chaing Mai: Phrao District Non-Formal and Informal Education Centre; 2013. (in Thai)

Ekwongmunkong W, Manewattana T. Optimum design of an air conditioning system for industrial incubators [Internet]. 2008 [cited 2018 December 9]. Available from: http://www.acat.or.th/ download/acat_or_th/journal-18/18%20-%2004.pdf (in Thai)

Lumchanao W, Potprarinya N. Development of egg incubator for detecting embryos in chicken eggs using digital image processing techniques. SWU Engineering Journal. 2018; 13(1): 151-65. (in Thai)

Sungkalert S. The expansion of chestnut-headed partridge in a cage at Khao Soi Dao Wildlife Breeding Center, Chanthaburi province. Journal of Wildlife in Thailand. 2006; 13(1): 169-77.

(in Thai)

Arayawat S, Khunyai C, Tanasi P. Automatic egg incubator. The 10th National Conference on Technical Education; 2017 November 22; King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Bangkok: Faculty of Technical Education, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok; 2017. p. 329-33. (in Thai)

Shittu S, Muhammad AS, Jimoh M, Muhammad AS, Olasunkanm JN. Development of an automatic bird-egg incubator. A Journal of Embedded System & Applications. 2017; 5(1): 1-9.

Kyeremeh F, Peprah F. Design and construction of an arduino microcontroller based EGG incubator. International Journal of Computer Applications. 2017; 168(1): 15-23.