การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผนังคอนกรีตมวลเบาเสริมแผ่นโฟมอัดแน่น

Main Article Content

ผกามาศ ชูสิทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิต หาอัตราส่วนที่เหมาะสม ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ทางกล สัมประสิทธิ์การนำความร้อน และแนะนำแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ผนังคอนกรีตมวลเบาด้วยการเสริมแผ่นโฟมอัดแน่น ขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ผนังคอนกรีตมวลเบาด้วยการเสริมแผ่นโฟมอัดแน่น สามารถผลิตได้โดยการติดตั้งเหล็กเสริมรอบแผ่นโฟม และเทมอร์ต้าร์อัตราส่วน M3 (เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด) หุ้มแผ่นโฟมโดยรอบและบ่มผนังคอนกรีตมวลเบา จากผลการทดสอบตามมาตรฐาน มอก.2226-2548 และ มอก.878-2537 พบว่า ลักษณะทั่วไปไม่บิดเบี้ยวไม่มีรอยร้าว ความต้านทานแรงอัด 17.81 เมกะพาสคัล ไม่มีการโก่งตัวเมื่อวางผนังตามลักษณะการใช้งานจริง การดูดซึมน้ำร้อยละ 11.38 ความแข็งผ่านมาตรฐานประเภทที่ 1 ความทนการกระแทกผ่านมาตรฐานประเภทที่ 1 ความหนาแน่น 956.03 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความต้านทานแรงดัด 9.18 เมกะพาสคัล และมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำเพียง 0.170 วัตต์ต่อเมตร.เคลวิน ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปมวลเบานี้ สามารถนำไปใช้เป็นผนังอาคารที่ต้องการความเป็นฉนวนป้องกันความร้อน

Article Details

How to Cite
[1]
ชูสิทธิ์ ผ., “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผนังคอนกรีตมวลเบาเสริมแผ่นโฟมอัดแน่น”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 9, ฉบับที่ 1, น. 15–26, เม.ย. 2019.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Thitipoomdeja S. Engineering Materials. Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2013. (in Thai)
[2] Nitaya C. Industrialized Building. Bangkok: Chulalongkorn University; 1985. (in Thai)
[3] Testa Carlo. The Industrialization of Building. New York: Van Nostrand Reinhold; 1959.
[4] Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR). Industrial System Construction. Bangkok: Thailand Institute of Scientific and Technological Research; 1977. (in Thai)
[5] Thai Industrial Standards Institute (TISI). Thai Industrial Standard: Precast Concrete Wall Panels (TIS. 2226-2548). Bangkok: Thai Industrial Standards Institute; 2005. (in Thai)
[6] Thai Industrial Standards Institute (TISI). Thai Industrial Standard: Cement Bonded Particleboards: High Density (TIS. 878-2537). Bangkok: Thai Industrial Standards Institute; 1994. (in Thai)
[7] Chindaprasirt P, Jaturapitakkul C. Cement Pozzolanic and concrete. 7th edition. Bangkok: Thailand Concrete Association; 2012. (in Thai)
[8] Pakunworakij T, Puthipiroj P, Oonjittichai W, Tisavipat P. Thermal resistance efficiency of building insulation material fromagricultural waste. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 2006; 3(4): 119-126. (in Thai)
[9] Engineering Toolbox. Thermal Conductivity of some common Materials and Gases [Internet]. 2016. [cited 2016 September 25]. Available from: http://www.engineeringtoolbox.com/thermal-conductivity-d_429.html