เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเกษตรปลอดสารสู่ชุมชนพึ่งตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สุพิมพา วัฒนสังขโสภณ

บทคัดย่อ

          กระบวนการและการจัดการเกษตรปลอดสารของผู้สูงอายุในชุมชนเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ เกิดจากความชอบและความสนใจ เน้นการใช้แรงงานครัวเรือนหรือจ้างชั่วคราว ใช้เงินทุนที่มี ถ้ามีกำไรก็จะขยายกำลังการผลิต ใช้เครื่องจักรกลตามความสามารถและกำลังเศรษฐกิจครอบครัว ผลผลิตที่ได้นำมารับประทานก่อนนำไปจำหน่าย มีแนวคิดในการทำเกษตรปลอดสารผู้สูงอายุ คือ มีความชอบและความสนใจเป็นพื้นฐาน สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ใช้เวลาสั้น ลดต้นทุนและนำไปจำหน่ายได้ ส่วนผลการศึกษาความต้องการในการทำเกษตรปลอดสารของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}  = 4.21) ผลการนำเสนอเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำเกษตรปลอดสารสู่ชุมชนพึ่งตนเองของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย แนวคิด โรงเรือน แปลงผัก การปลูกและการดูแลและระบบน้ำ ซึ่งพบว่า ภาพรวมมีผลการประเมินทุกด้านอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}  = 4.49) ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด ได้แก่ เหมาะสมกับวิถีชีวิต และสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ (gif.latex?\bar{x}  = 4.56) ต้นทุนการสร้างและค่าใช้จ่ายไม่สูง (gif.latex?\bar{x} = 4.54) มีรูปแบบง่ายไม่ซับซ้อน (gif.latex?\bar{x}  = 4.53) และเน้นใช้แรงงานคนมากกว่าเครื่องจักร (gif.latex?\bar{x}  = 4.45) ผลการยอมรับเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำเกษตรปลอดสารพิษสู่ชุมชนพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{x}  = 4.46) ด้านที่มีผลการประเมินมากที่สุด ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ (gif.latex?\bar{x}  = 4.56) มีการยอมรับสูงกว่าการรับรู้ถึงความง่ายต่อการใช้ (gif.latex?\bar{x}  = 4.36) ดังนั้น จึงเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพราะพัฒนาจากความต้องการ สามารถสร้างอาหารปลอดภัยโดยใช้เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับแรงงาน กำลังทรัพย์ บริบทสังคมและวัฒนธรรม มีส่วนร่วมในการผลิตเชิงเศรษฐกิจให้กับครอบครัว เกิดคุณค่าและลดภาระการพึ่งพิงเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ

Article Details

How to Cite
[1]
วัฒนสังขโสภณ ส., “เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการเกษตรปลอดสารสู่ชุมชนพึ่งตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 10, ฉบับที่ 2, น. 75–88, ต.ค. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

Runawai S. Farmers in Thai rural society: Compile Thai social science series and agricultural promotion. Bangkok: Sukhothai Thammathirat University. 2000; 78-116. (in Thai)

Phompranee P. Development of innovation and knowledge transfer Appropriate agricultural technology by using sufficiency economy philosophy to farmers in the community, Nakhonpathom Province. Journal of Community Development Research Humanities and Social Sciences. 2015; 8: 134-49. (in Thai)

Siriphanich S. and Misri S. Toxic pesticides in chemicals - Report Summary Annual disease surveillance for 2012 [Internet]. 2012. [Cited 2017 October 16]. available from: http://boe. moph.go.th/. (in Thai)

Suriyachai S. Evaluation of the needs to promote the quality of life of the elderly in Bang Sai Pa Sub-district, Bang Len District, Nakhonpathom Province. [thesis]. Bangkok; Silpakorn University; 2009. (in Thai)

Thonglad P. Management of non-toxic vegetables according to sufficiency economy philosophy of Baan Thadue community, Pichai sub-district, Muang district, Lampang province. The 49th Kasetsart University Academic Conference; 2011 February 1-4. Bangkok: Kasetsart University.

(in Thai)

Charnvisa H. Self-sufficient in form of Buddhist agriculture in Salee-Asoke community, Paisalee, Nakornsawan. [thesis]. Bangkok; Thammasat University; 2015. (in Thai)

Taweewong R. Household Income Promotion under the Pesticide-Free Liang Vegetable Plantation Project of the La-Un Nua Sub-District Administration Organization, La-Un Nua District, Ranong Province. [An Independent Study Report]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2009. (in Thai)

Gunlawong M. and Orther. Self-Sufficiency Model under Philosophy of “Sufficiency Economy” of the Elderly in Phutoei Municipal Area, Wichianburi District, Phetchabun Province. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Science). 2016; 11(1): 165-74. (in Thai)