การจัดการด้านการยศาสตร์สำหรับงานยกเคลื่อนย้ายกระสอบยางพารา ในสหกรณ์สวนยางพาราเมืองอุบลราชธานี

Main Article Content

รัชนี จูมจี
เฉลิมสิริ เพพพิทักษ์
สุวัสสา ปั้นเหน่ง

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยง และการลดความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ให้กับเกษตรที่ทำงานในขั้นตอนการยกเคลื่อนย้ายยางพาราลงจากรถบรรทุกในสหกรณ์สวนยางพารา เมืองอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 ตัวอย่าง จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความชุกการปวดบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 31.7 หลังส่วนบน ร้อยละ 15.1 แขนส่วนล่าง ร้อยละ 11.9 มือและข้อมือ ร้อยละ 11.9 ไหล่ ร้อยละ 9.5 คอ ร้อยละ 7.9 น่อง ร้อยละ 7.9  หัวเข่า ร้อยละ 2.4 และเท้า ร้อยละ 1.6 ตามลำดับ จากการปรับปรุงสถานีงานโดยการใช้รถโฟล์คลิฟท์แทนการขนย้ายด้วยแรงงานคน แล้วประเมินความเสี่ยงด้วยวิธีการประเมินทั่วทั้งร่างกาย กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 ตัวอย่าง ผลคะแนนท่าทางการทำงานก่อนการปรับปรุงเท่ากับ 13.78 (สภาพงานมีความเสี่ยงระดับสูงมากควรปรับปรุงงานทันที) และคะแนนเฉลี่ยหลังการปรับปรุงเท่ากับ 5.06 (สภาพงานมีความเสี่ยงปานกลาง) คะแนนช่วงเชื่อมั่นที่ 8.39 ถึง 9.05 ความเชื่อมั่นที่ 0.001 ผลการประเมินความเสี่ยงก่อนและหลังการปรับปรุงสถานีงานมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงสถานีงานโดยอาศัยหลักการด้านการยศาสตร์สามารถลดความเสี่ยงให้กับเกษตรที่ทำงานในขั้นตอนการยกเคลื่อนย้ายยางพาราลงจากรถบรรทุกได้

Article Details

How to Cite
[1]
จูมจี ร. . ., เพพพิทักษ์ เ. . ., และ ปั้นเหน่ง ส., “การจัดการด้านการยศาสตร์สำหรับงานยกเคลื่อนย้ายกระสอบยางพารา ในสหกรณ์สวนยางพาราเมืองอุบลราชธานี”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 10, ฉบับที่ 2, น. 25–36, ต.ค. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

Saetan O, Khiewyoo J, Jones C, Ayuwat D. Musculoskeletal Disorders Among Northeastern Construction Workers with Temporary Migration. Srinagarind Med J. 2007; 22(2): 165-73. (in Thai)

Jaijong P. Risk factor of upper extremity musculoskeletal disorders in rubber tapper workers [thesis].Chonburi; Burapha university; 2014. (in Thai)

Madtharuk W. To assessment the ergonomics condition of rubber plantation farmers for massaging rubber Sheet by man and machine. SKRU academic journal. 2011; 4(1): 16-29. (in Thai)

Wongphon S, Inmuong U. Health risk assessment from rubber farming activities in Nongsang district, Udonthani province. KKU Journal for public health research. 2012; 5(1): 13-20. (in Thai)

Plykaew R, Chanprasit C, Kaewthummanukul T. Working posture and musculoskeletal disorders among Rubber plantation workers. Nursing journal. 2013; 40(1): 1-10. (in Thai)

Sinjaru T. Research and statistical analysis by SPSS.9.Bangkok: Business R&D; 2008. (In Thai).

Joomjee R, Bureelerd O, Songserm N. Health Risk Assessment of Para-rubber Farmersin Ubon Ratchathani, Thailand. Journal of Safety and Health. 2016; 9(33): 37-41. (in Thai)

Joomjee R, Bureelerd O, Songserm N, Theppitak C. The study of Ergonomic Management for reduce Musculoskeletal Symptoms among the Para-Rubber Farmers. Journal of industrial technology Ubon ratchathani rajabhat university. 2017; 7(1): 92-105. (in Thai)

Chaiklieng S, Riabroi W, Puntumetakul R. Risk factors of repetitive strain injuries among workers of the stone sculpture industry, Chonburi province. KKU research journal. 2014; 17(2): 325-37.

Wichai J, Chaiklieng S. Ergonomics risk assessment among manual handling workers. KKU research journal. 2014; 19(5): 708-19.

Hunyala J. Developing production process efficiency of garment factory a case study of Northern airtime company. Industrial technology Lampang rajabhat university journal. 2014; 40(1): 14-24.

Raolji V. G., Siddiqui N., Nandan A., Pandya K. A case study on optimization of manual activities through ergonomics interventions. International journal of applied engineering research. 2019; 0973-4562 (13): 5075-80.

Ansari N. A., Sheikh M. J. Evaluation of work posture by RULA and REBA: A case study. IOSR Journal of mechanical and civil engineering. 2014; 11(4): 18-23.