การลดเวลาสูญเปล่าจากการทำเอกสารเบิกจ่ายอะไหล่ โดยการประยุกต์ใช้แนวคิด DMAIC

Main Article Content

ศุภกร เจริญประสิทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาการทำเอกสารการเบิกจ่ายอะไหล่ ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิด DMAIC แนวทางการดำเนินงานจัดทำวิจัย เริ่มจากการวัดและกำหนดปัญหา ซึ่งพบว่าความล่าช้าในการทำเอกสาร คือ ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำเอกสารการเบิกจ่ายอะไหล่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากขั้นตอนการทำงานที่ไม่เหมาะสมและซับซ้อน ซึ่งมีเวลาเฉลี่ยการทำงานเอกสารสำหรับการเบิกจ่ายอะไหล่อยู่ที่ 1.475 วันต่อเดือน ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบถึงความสำเร็จของงาน จากการวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิเหตุและผล พบว่า พนักงานไม่มีมาตรฐานในการทำงานที่ก่อให้เกิดความล่าช้าในการทำเอกสาร จากนั้นทำการปรับปรุงวิธีการทำงานแบบใหม่แล้วนำไปทดลองปฏิบัติงานจริงโดยการใช้หลักการ ECRS สุดท้ายคือการจัดทำมาตรการควบคุมและป้องกันปัญหา ผลการปรับปรุงพบว่า เวลาเฉลี่ยในการทำเอกสารการเบิกจ่ายอะไหล่ต่อเดือนลดลงเหลือ 0.6267 ซึ่งคิดเป็นอัตราลดลงเท่ากับ 57.51 เปอร์เซ็นต์ ต่อเดือนและสามารถลดต้นทุนต่องานในกระบวนการทำเอกสารการเบิกจ่ายอะไหล่จากเดิม 24.94 บาทต่องาน ลดลงเหลือ 18.76 บาทต่องานและมีการเปลี่ยนแปลงต้นทุนถึง 24.78 เปอร์เซ็นต์

Article Details

How to Cite
[1]
เจริญประสิทธิ์ ศ., “การลดเวลาสูญเปล่าจากการทำเอกสารเบิกจ่ายอะไหล่ โดยการประยุกต์ใช้แนวคิด DMAIC”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 10, ฉบับที่ 1, น. 124–136, เม.ย. 2020.
บท
บทความวิจัย

References

R. Does, et al. Comparing Nonmanufacturing with Traditional Application of Six Sigma. Journal of Quality Engineering, vol. 15, pp. 177-182, 2002.

Phoompong P. Reducing waste in the manufacturing of bicycle tyres by using six sigma [thesis]. Bangkok; Rajamangala University of Technology Phra Nakhon; 2014. (in Thai)

Laosirihongthong T, Jiraarpawong A, Kiatcharoenpol T. Implementation of DMAIC for extraordinary: A case study of ceramic sanitary ware Manufacturing Company . Research and development journal. 2008; 19(4): 36-44.

Khemasit T, Kijkla R. Reduce waste from the manufacture of sausage with the application DMAIC of the case study company. Journal of I - TECH. 2016; 11(2), 77-83. (in Thai)