การจำลองรูปแบบการจัดเรียงตัวของตอซังข้าวที่มีผลต่อความรุนแรงของไฟ

Main Article Content

พงษ์ธร วิจิตรกูล

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาผลจากการจัดวางตัวของตอซังข้าวต่อความรุนแรงของไฟจากการเผาตอซังข้าวที่เหลือหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวของชาวนาในพื้นที่ศึกษา โดยทำการจำลองการลุกลามของไฟใน 4 รูปแบบของการจัดวางตัวของตอซังข้าวและทำการเก็บข้อมูลด้านภูมิประเทศ คือ ความชัน ระดับความสูงจากน้ำทะเล ข้อมูลด้านลักษณะเชื้อเพลิง คือ ความหนาแน่นเชื้อเพลิง ความสูงของเชื้อเพลิง ค่าพลังงานจำเพาะของเชื้อเพลิง ข้อมูลลักษณะภูมิอากาศ คือ ความเร็วลม ทิศทางลม ปริมาณน้ำฝนและความชื้นอากาศ หลังจากนั้นจะทำการจำลองการเผาไหม้ทั้ง 4 รูปแบบ การจัดวางตัวของเชื้อเพลิง คือ รูปแบบที่ 1 มีการทำแนวกันไฟเป็นเส้นความยาวประมาณ 1.5 เมตร วางตัวแนวขวางกระจายรอบแปลงนา รูปแบบที่ 2 ทำแนวกันไฟเป็นจุดวงกลมกระจายทั่วแปลงนา รูปแบบที่ 3 ทำแนวกันไฟเป็นเส้นยาวประมาณ 1.5 เมตร วางตัวแนวเดียวกับการลุกลามกระจายรอบแปลงนา และรูปแบบที่ 4 วางแนวกันไฟแบ่งแปลงนาเป็น 3 ส่วนตามแนวการลุกลามพื้นที่ของแนวกันไฟทุกรูปแบบคิดเป็นร้อยละ 10 ของพื้นที่ แปลงนา 1 แปลง โดยการจำลองนี้จะกำหนดค่าตัวแปรทางลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศและเชื้อเพลิงให้ใกล้เคียงกันเพื่อวิเคราะห์ความรุนแรงเฉลี่ยของไฟเพื่อนำค่ามาเปรียบเทียบเพื่อหาแนวทางวิธีการเผาทำลายตอซังข้าวที่มีผลความรุนแรงไฟเฉลี่ยน้อยที่สุด พบว่ารูปแบบการทำแนวกันไฟที่ 1 เป็นรูปแบบที่สามารถลดความรุนแรงไฟเฉลี่ยได้มากที่สุด และรูปแบบการทำแนวกันไฟที่ 4 เป็นรูปแบบที่มีค่าความรุนแรงไฟเฉลี่ยมากที่สุด

Article Details

How to Cite
[1]
วิจิตรกูล พ., “การจำลองรูปแบบการจัดเรียงตัวของตอซังข้าวที่มีผลต่อความรุนแรงของไฟ”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 2, น. 155–168, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Karakate N. A Study on the Future Image of Mass Media in the Role to Promote the Value of Thai Jasmine Rice [Complete report]. Rajamangala University of Technology Thanyaburi. 2011. (in Thai)
[2] Wichitkul P., Attathanakorn N., Tachajapong W. Examination of Factors Affecting Early Burning Fire Spread Rate in Dry Deciduous Dipterocarp Forest. The International Conference on Mechanical Engineering (ME-NETT 26 & TSME-ICoME 2012). Dusit Island Resort. Chiang Rai. 2012. (in Thai)
[3] Rothermel. R.C. A mathematical model for predicting fire spread in wild land fuels. USDA For. Serv. Res. Pap. 1972; INT-115.
[4] Richards G.D. An elliptical growth model of forest fire fronts and its numerical solution. Int. J. Numer. Meth. 1990; Eng. 30: 1163-1179.
[5] Rebecca A. Reed et al., Aboveground net primary production and leaf area index in initial post-fire vegetation communities in Yellowstone National Park. Ecosystem. 1999; 2: 88-94.
[6] Martin E Alexander, Miguel G Cruz. Evaluating a model for predicting active crown fire rate of spread using wildfire observations. Canadian Journal of Forest Research, 2006; 36(11): 3015-3028, 10.1139/x06-174.
[7] H.Aghajani., A. Fallah., S. Fazlollah Emadian. Modelling and analyzing the surface fire behaviour in Hyrcanian forest of Iran. Journal of Forest Science. 60. 2014 (9): 353-362.
[8] Jeremy Maestas et al., Fuel Breaks to Reduce Large Wildfire Impacts in Sagebrush Ecosystems. Technical Note No. 66, USDA – Natural Resources Conservation Service. Idaho; 2016: 114-116.
[9] Phillips, R. J., Waldrop, T. A., Simon, D. M., Assessment of the FARSITE model for predicting fire behavior in the Southern Appalachian Mountains. Proceedings of the 13th biennial Southern Silvicultural Research Conference. Gen. Tech. Rep. SRS-92. Asheville. NC: U.S. Department of Agriculture. Forest Service. Southern Research Station. 2006: 521-525.
[10] The Thai Meteorological Department. An up-to-date information of weather forecast 1 -1 5 March 2016 [Internet]. 2016 [cited 2016 March 30]. Available from: https://www.tmd.go.th/province.php?id=6. (in Thai)