การ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา ประวัติท้าวมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

กาญจนา ดงสงคราม
วรปภา อารีราษฎร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง บุคคลสาคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา ประวัติท้าวมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม 2) ทดลองใช้การ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา ประวัติท้าวมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม 3) ศึกษาผลการยอมรับการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษาประวัติท้าวมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเครือข่ายอีดีแอลทีวี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 14 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสมของการ์ตูนแอนิเมชัน จำนวน 3 คน และ กลุ่มที่ 3 ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในเขตจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การ์ตูนแอนิเมชันประวัติ ท้าวมหาชัย แบบสอบถามความเหมาะสม แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบสอบถามการยอมรับที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) การ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ นำเสนอในรูปแบบ 2 มิติ มีความยาว 5.40 นาที โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำเสนอประวัติพระเจริญราชเดชวรเชษฐ์ขัติยพงศ์ (ท้าวมหาชัย หรือกวด) ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อการ์ตูนแอนิเมชันที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก และ 3) ครูให้การยอมรับต่อการ์ตูนแอนิเมชัน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

How to Cite
[1]
ดงสงคราม ก. และ อารีราษฎร์ ว., “การ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา ประวัติท้าวมหาชัย จังหวัดมหาสารคาม”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 2, น. 127–139, ธ.ค. 2018.
บท
บทความวิจัย

References

[1] Lampawed L. A Study of Visual Symbol for Children 6-9 Years. [Master Thesis]. Bangkok: Silpakorn University; 2011.
[2] Sansuphan K. 2D Animation Cartoon Media on Forest Conservation for 8-9 Years Old Children. [Master Thesis]. Mahasarakham: Mahasarakham University; 2009. (in Thai)
[3] Chookaew N. Effect of Using Mathematical Cartoon with Student Teams Achievement Division (STAD) Technique on Order Pair and Graphs Toward Mathematics Achievement and Learning Satisfaction of Mathaymsuksa 1 Students. [Master Thesis]. Bangkok: Srinakharinwirot University; (2013). (in Thai)
[4] Pingmoontha N. Animation Production of Duty Responsibility for Chiang Mai Rajabhat University Students. [Master Thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University; 2014. (in Thai)
[5] Rongmuenag D, Narkchuttri C, Rodsri P, Meesri S, Klubchum W, Thongsuk W, at.al. Using Two-Dimension Cartoon Animation in order to Prevent the “Hand, Foot and Mouth Disease (HFMD) among Pre-School Children: Knowledge for practice in Preventing HFDM. Journal of Southern College Network in Nursing and Public Health. 2014; 1(1): 31-48. (in Thai)
[6] Klongkoy S. Development of Cartoon Animation Folktale on Self-Sufficient Live for Kindergarten Students.[Master Thesis]. Pathum Thani: Rajamangala University of Technology Thanyaburi; 2012. (in Thai)
[7] Arreerard T, Arreerard W. Results of Development in Information Technology for the Diffusion of Local Wisdom. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2016; 6(2): 63-77 (in Thai)