การศึกษาผลิตภัณฑ์ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปมวลเบาด้วยเทคนิคการฉีดโฟม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิต หาอัตราส่วนที่เหมาะสม ทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางกล สัมประสิทธิ์การนำความร้อน และการแนะแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ผนังคอนกรีต สำเร็จรูปมวลเบาด้วยเทคนิคการฉีดโฟมเป็นแกนกลางผนัง การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ผนังคอนกรีตสาเร็จรูปมวลเบาที่ใช้ การฉีดโฟม สามารถผลิตได้โดยขึ้นรูปแผ่นมอร์ต้าร์อัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 : ทรายละเอียด : น้ำประปา เท่ากับ 1 : 3 : 0.5 โดยน้ำหนัก (เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด) การติดตั้งเหล็กเป็นขอบและการฉีดโฟมเป็นแกนกลาง จากผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปมวลเบาที่ใช้การฉีดโฟมตามมาตรฐาน มอก. 2226 - 2548 (แผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป) และ มอก.878 - 2537 (แผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ความหนาแน่นสูง) พบว่า ลักษณะทั่วไปไม่บิดเบี้ยวไม่มีรอยร้าว ความต้านทานแรงอัด 17.81 เมกะพาสคัล ไม่มีการโก่งตัวเมื่อวางผนังตามลักษณะการใช้งานจริง การดูดซึมน้ำร้อยละ 11.38 ความแข็งผ่านมาตรฐานประเภทที่ 1 ความทนการกระแทกผ่านมาตรฐานประเภทที่ 1 ความหนาแน่น 1,110.58 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความต้านทานแรงดัด 9.18 เมกะพาสคัลและมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนต่ำเพียง 0.186 วัตต์ต่อเมตร.เคลวิน ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปมวลเบานี้สามารถนำไปใช้เป็นผนังอาคารที่ต้องการความเป็นฉนวนป้องกันความร้อน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ ท้ังในรูปแบบของรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ
References
[2] Testa C. The industrialization of building. Van Nostrand Reinhold; 1972.
[3] Thailand Institute of Scientific and Technological Research (TISTR). Industrial System Construction. Bangkok: Thailand Institute of Scientific and Technological Research; 1977. (in Thai)
[4] Thai Industrial Standards Institute (TISI). Thai Industrial Standard: Precast Concrete Wall Panels (TIS. 2226-2548). Bangkok: Thai Industrial Standards Institute; 2005. (in Thai)
[5] Thai Industrial Standards Institute (TISI). Thai Industrial Standard: Cement Bonded Particleboards: High Density (TIS. 878-2537). Bangkok: Thai Industrial Standards Institute; 1994. (in Thai)
[6] Chindaprasirt P, Jaturapitakkul C. Cement Pozzolanic and concrete. 7th edition. Bangkok: Thailand Concrete Association; 2012. (in Thai)
[7] Pakunworakij T, Puthipiroj P, Oonjittichai W, Tisavipat P. Thermal resistance efficiency of building insulation material fromagricultural waste. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 2006; 3(4): 119-126. (in Thai)
[8] Engineering Toolbox. Thermal Conductivity of some common Materials and Gases [Internet]. 2016. [cited 2016 September 25]. Available from: https://www.engineeringtoolbox.com/thermal-conductivity-d_429.html