การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวตรวจจับตำแหน่งของผู้นำเสนอ สำหรับควบคุมเครื่องฉายไฟติดตาม

Main Article Content

พิทักษ์ คล้ายชม
อภิศักดิ์ พรหมฝาย
ธนากร พุ่มพ

บทคัดย่อ

 


            การลดแสงสว่างภายในห้องนำเสนอเพื่อเพิ่มความคมชัดของจอภาพ ทำให้ผู้ชมมองเห็นผู้นำเสนอได้ไม่ชัดเจน อาจทำให้การสื่อสารขาดประสิทธิภาพได้ จำเป็นต้องใช้เครื่องฉายไฟติดตามผู้นำเสนองานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวตรวจจับตำแหน่งของผู้นำเสนอสำหรับควบคุมเครื่องฉายไฟติดตาม และเพิ่มขอบเขตพื้นที่การตรวจจับตำแหน่งของผู้นำเสนอผ่านกล้องคิเนกท์ระบบประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1) ชุดกล้องคิเนกท์และแท่นหมุน 2) ชุดโคมไฟพาร์และเครื่องฉายไฟติดตามและ 3) ระบบควบคุมอัตโนมัติและการสื่อสารด้วยโปรโตคอลดีเอ็มเอ็กซ์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะรับค่าตำแหน่งข้อต่อกระดูกต่าง ๆ และท่าทางของผู้นำเสนอจากกล้องคิเนกท์ เพื่อทำการประมวลผลหาตำแหน่งและรับคำสั่งของผู้นำเสนอ แล้วสั่งงานไปควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ของแท่นหมุนกล้องคิเนกท์ เครื่องฉายไฟติดตามและโคมไฟพาร์ให้ทำงานตามที่ผู้นำเสนอสั่งงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ถ้าตั้งกล้องคิเนกท์อยู่กับที่จะสามารถตรวจจับและระบุตำแหน่งผู้นำเสนอที่จุดทดสอบห่างจากกล้องทุก ๆ ระยะ 0.5 เมตรได้ 24 จุด แต่หากใช้เซอร์โวมอเตอร์หมุนกล้องคิเนกท์ไปทางด้านซ้าย 20 องศา ตรงกลางและด้านขวา 20 องศา จะสามารถเพิ่มระยะการตรวจจับและการระบุตำแหน่งผู้นำเสนอได้เป็น 36 จุด มีอัตราการเพิ่มขึ้น 50% โดยมีค่าความผิดพลาดในการระบุตำแหน่งของผู้นำเสนอเฉลี่ยเท่ากับ 0.10 เมตร ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.08 เมตร และที่ระยะห่างจากกล้องคิเนกท์เท่ากับ 3 เมตร สามารถระบุตำแหน่งได้กว้างที่สุดเท่ากับ 5 เมตร ในส่วนของระบบติดตามผู้นำเสนอด้วยเครื่องฉายไฟติดตามตัวจากการระบุตำแหน่งด้วยกล้องคิเนกท์ พบว่ามีค่าความผิดพลาดเฉลี่ยเท่ากับ 0.46 เมตร และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.22 เมตร เหมาะสมต่อการใช้งานในห้องนำเสนอขนาดกลาง ทำให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมโดยเฉพาะ

Article Details

How to Cite
[1]
คล้ายชม พ., พรหมฝาย อ., และ พุ่มพ ธ., “การพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวตรวจจับตำแหน่งของผู้นำเสนอ สำหรับควบคุมเครื่องฉายไฟติดตาม”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 1, น. 87–97, มิ.ย. 2018.
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พิทักษ์ คล้ายชม

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

อภิศักดิ์ พรหมฝาย

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ธนากร พุ่มพ

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

References

[1] Sanguankittipun T. Presentation techniques. Udon Thani: Sukhothai Thammathirat Open
University; 2013. (in Thai)
[2] MSPVL Polytechnic College. LCD projector principles [Internet]. 2012 [cited 2016 May 29]. Available from: http://www.ustudy.in/node/4907.
[3] Microsoft. Kinect for Xbox 360 [Internet]. 2012 [cited 2016 May 29]. Available from:
http://www.xbox.com/en-US/xbox-360/accessories/kinect.
[4] Microsoft. Programming with the kinect for windows SDK [Internet]. 2015 [cited 2016 June 10]. Available from: http://research.microsoft.com/en-us/events/fs2011/jancke_kinect_
programming.pdf
[5] Berger K, Ruhl K, Schroeder Y, Bruemmer C, Scholz A, Magnor MA. Markerless motion capture using multiple color-depth sensors. Proceedings of the 16th VMV; 2011 October 4-6; Berlin, Germany; 2011. p. 317-324.
[6] DMX 512. DMX protocol basics [Internet]. 2016 [cited 2016 June 20]. Available from: http://www.dmx-512.com/dmx-protocol/dmx-protocol-basics/
[7] USITT. DMX512 [Internet]. 2012 [cited 2016 May 29]. Available from: http://old.usitt.org/
DMX512.aspx.
[8] Phromfaiy A. Development of kinect guided senior citizen following robot by fuzzy control. The Journal of King Mongkut’s University of Technology North BANGKOK 2017; 2: 329-337. (in Thai)
[9] Pattanotai N. Compositing human skeleton from motion captures using multiple kinect sensors [thesis]. Bangkok : King Mongkut's University of Technology Thonburi; 2011. (in Thai)
[10] Alexiadis DS, Kelly P, Daras P, O'Connor NE, Boubekeur T, Moussa MB. Evaluating a Dancer's Performance using Kinect-based skeleton tracking. Proceedings of the 19th ACM international conference on Multimedia; 2011 November 28-December 01; New York, USA; 2011. p.659-62.