จำลองการปล่อยวัสดุออกจากกระพ้อลำเลียงด้วยวิธีการองค์ประกอบที่ไม่ต่อเนื่อง

Main Article Content

สถาพร วังฉาย

บทคัดย่อ

 


กระพ้อลำเลียงเป็นเครื่องมือขนถ่ายวัสดุขึ้นในแนวดิ่งสำหรับลำเลียงวัสดุปริมาณมวลหรือก้อนขนาดเล็ก โดยทั่วไปจะมีใช้ในโรงสีข้าวและอุตสาหกรรมอื่น ๆ อัตราการลำเลียงของวัสดุ (กิโลกรัมต่อชั่วโมง) เป็นสิ่งสำคัญที่ถูกนำมาพิจารณา ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความเร็วรอบในการหมุนและปริมาณการป้อนวัสดุเข้าสู่ลูกกระพ้อลำเลียงเพื่อนำไปสู่การพิจารณาการปล่อยวัสดุออกจากกระพ้อลำเลียง ในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของอัตราการลำเลียงวัสดุด้วยกระพ้อลำเลียง พฤติกรรมการปล่อยวัสดุออกจากกระพ้อลำเลียงด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางด้วยการทดสอบที่ความเร็วรอบในช่วงระหว่าง 70-130 รอบต่อนาที และใช้กล้องวิดีโอดิจิตอลบันทึกภาพมุมสาดของวัสดุ อีกทั้งได้นำเสนอขั้นตอนการสร้างแบบจำลอง และวิธีการหาพารามิเตอร์ที่สำคัญในการจำลองเชิงตัวเลขประกอบด้วยคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลของวัสดุ รวมถึงค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุกับวัสดุและวัสดุกับผนังชิ้นงานเพื่อใช้กับวิธีการองค์ประกอบที่ไม่ต่อเนื่อง (DEM) เพื่อทำนายการเคลื่อนที่ของวัสดุ สุดท้ายผลจากการจำลองพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของอนุภาควัสดุออกจากลูกกระพ้อลำเลียงที่ความเร็วการหมุนต่าง ๆ พิจารณาที่มุมเริ่มต้นการจ่ายวัสดุออกและการกระจายของวัสดุที่ส่วนหัวของกระพ้อลำเลียงมีความสอดคล้องกับผลที่ได้จากการทดลองการเคลื่อนที่ของวัสดุจริง

Article Details

How to Cite
[1]
วังฉาย ส., “จำลองการปล่อยวัสดุออกจากกระพ้อลำเลียงด้วยวิธีการองค์ประกอบที่ไม่ต่อเนื่อง”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 1, น. 49–61, มิ.ย. 2018.
บท
บทความวิจัย
Author Biography

สถาพร วังฉาย

คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

[1] Hays MD, Fine PM, Geron CD, Kleeman MJ, Gullett BK. Open burning of agricultural biomass: physical and chemical properties of particle-phase emissions. Atmospheric Environment. 2005; 39(36): 6747-64.
[2] Wangchai S, Hastie DB, Wypych PW. The Simulation of particle flow mechanisms in dustiness testers. Proceedings of the 11th International Conference on Bulk Materials Storage, Handling and Transportation; 2013 July 2-4; University of Newcastle, Australia; 2013.
[3] Cundall PA, Strack ODL. A discrete numerical model for granular assemblies. Géotechnique. 1979; 29(1): 47-65.
[4] Yang RY, Yu AB, McElroy L, Bao J. Numerical simulation of particle dynamics in different flow regimes in a rotating drum. Powder Technology. 2008; 188(2): 170-7.
[5] Cundall PA. Computer simulations of dense sphere assemblies. Studies in Applied Mechanics. 1988; 20: 113-23.
[6] Cleary PW, Morrisson R, Morrell S. Comparison of DEM and experiment for a scale model SAG mill. International Journal of Mineral Processing. 2003; 68: 129-65.
[7] Mohsenin NN. Physical properties of plant and animal materials : structure, physical characteristics and mechanical properties. 2nd ed. New York: Gordon and Breach Science Publishers; 1986.
[8] Wangchai S, Tragoonsubtavee S. Performance of a bucket conveyor centrifugal escape center using DEM. The 31st Conference of Mechanical Engineering Network of Thailand; 2017 July 4-7; Phukhaongam Resort. Nakhonnayok, Thailand: Macanical Engineering, Srinakharinwirot University; 2017. (in Thai)