การใช้เศษพลาสติกโพลิเอทธิลีนเทเรฟทาเลตเป็นวัสดุผสมสำหรับผลิตไม้เทียมขยะกล่องนมที่มีความแข็งแรงสูง

Main Article Content

ปราโมทย์ วีรานุกูล
ผกามาศ ชูสิทธิ์
วิหาร ดีปัญญา
กิตติพงษ์ สุวีโร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิต การหาอัตราส่วนที่เหมาะสม การทดสอบคุณสมบัติ และการแนะนำแนวทางการนำไปใช้งานจริงของแผ่นไม้เทียมจากเศษกระดาษกล่องนมผสมเศษพลาสติกโพลิเอทธิลีนเทเรฟทาเลต (PET) อัตราส่วนของแผ่นไม้เทียม ประกอบด้วย เศษกระดาษกล่องนม : เศษพลาสติก PET เท่ากับ 80 : 20, 75 : 25, 70 : 30, 65 : 35 และ 60 : 40 โดยน้ำหนัก บดเศษขยะกล่องนมและเศษพลาสติก PET ให้มีขนาดผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ขึ้นรูปแผ่นไม้เทียมด้วยเครื่องอัดร้อน ความหนา 6 มิลลิเมตร โดยใช้อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที ทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก. 966-2547 จากผลการทดสอบ พบว่า อัตราส่วน 60 : 40 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดจากการทดลองนี้ โดยการเพิ่มปริมาณเศษพลาสติก PET มีผลทำให้ความหนาแน่น ความชื้น และการพองตัวตามความหนามีค่าลดต่ำลง ส่วนความต้านทานแรงดัด มอดุลัสยืดหยุ่น และความต้านทานแรงดึงตั้งฉากกับผิวหน้ามีค่าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้แผ่นไม้เทียมจากเศษกระดาษกล่องนมผสมเศษพลาสติก PET ที่พัฒนาเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับการนำไปตกแต่งหรือก่อสร้างผนังอาคารทั้งภายในและภายนอก

Article Details

How to Cite
[1]
วีรานุกูล ป., ชูสิทธิ์ ผ., ดีปัญญา ว., และ สุวีโร ก., “การใช้เศษพลาสติกโพลิเอทธิลีนเทเรฟทาเลตเป็นวัสดุผสมสำหรับผลิตไม้เทียมขยะกล่องนมที่มีความแข็งแรงสูง”, J of Ind. Tech. UBRU, ปี 8, ฉบับที่ 1, น. 13–24, มิ.ย. 2018.
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ปราโมทย์ วีรานุกูล

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ผกามาศ ชูสิทธิ์

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

วิหาร ดีปัญญา

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

กิตติพงษ์ สุวีโร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี