ชุดฝึกสมรรถนะงานสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง
DOI:
https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2021.8คำสำคัญ:
ชุดฝึกสมรรถนะ, ใยแก้วนำแสง, งานสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกสมรรถนะงานสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง 2) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดฝึกสมรรถนะงานสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในรายวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รหัส 3105-9004 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 1สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รหัส 3105-9004 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 14 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 21 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินชุดฝึกสมรรถนะงานสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง 2) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test (t-dependent) และ t-test (t-independent) ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาชุดฝึกสมรรถนะงานสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยที่ 4.68 2) ชุดฝึกสมรรถนะงานสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสงที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพที่ 82.07/80.71 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
References
[2] Jatuchai Pangchan. Network System 2nd Edition. Nonthaburi: IDC Infographic Center. 2008.Thai.
[3] Optical Fiber: Available from: https://th.wikipedia.org/wiki/OpticalFiber [Accessed December 21, 2019]
[4] Somboon Teeravisitphong. Fiber Optic Communication Fiber Optic Communication. Bangkok: Triple Group. 2012.Thai.
[5] Poonyawee Chamjarikul. Optical fiber communication system. Bangkok: Chulalongkorn University Press. 2007.Thai.
[6] Luan Saiyot and Angkhana Saiyot. (2010). Educational research techniques. Edition 11. Bangkok: Suveiriyasarn.Thai.
[7] Chaiyong Promwong. Testing media efficiency or teaching series. Silpakorn Education and Research Journal. Year 5 No. 1 (January - June 2013).
[8] Sanya Pho Wong. (2017). Development of an industrial electronic performance training kit. Board WD 81-84 Industrial Electronics subject code 2105-2111. Vocational Certificate Program, BE 2013. Office of Vocational Education Commission.
[9] Charongwut Srithongboriboon. Develop a set of practical skills Introduction to machine tool work, cutting, grinding and drilling with MIAP teaching style for professional learner level. Silpakorn Educational Research Journal. Volume 12. Issue 1, 2020: pp.281-296.
[10] Praiboon Kulduang, Sirirat PetSangsri and Chantana Wiriyavejkul. Web- Based Training with Embedded Simulator on Industrial Electrical Control System by Programmable Logic Controller (PLC). Journal of Industrial Education Minister. Vol.14 No.1 (2015)