การพยากรณ์ค่าความขรุขระผิวในการกลึงคว้านรูในเหล็กหล่อเหนียวโดยใช้วิธีการพื้นผิวผลตอบสนองและการสึกหรอของเม็ดมีด

ผู้แต่ง

  • จุฬาลักษณ์ โรจนานุกูล สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • สุรสิทธิ์ ระวังวงศ์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการแปรรูปวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ชาตรี หอมเขียว หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการแปรรูปวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2021.6

คำสำคัญ:

เหล็กหล่อเหนียว, ความขรุขระผิว, วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, การออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ค่าความขรุขระผิวในการกลึงคว้านรูในเหล็กหล่อเหนียว FCD 400 โดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนองด้วยการออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน (Box-Behnken Design) โดยมีปัจจัยในการทดลองประกอบด้วย ความเร็วรอบ อัตราป้อน ความลึกในการตัด และรัศมีจมูกมีด จากการทดลองพบว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อค่าความขรุขระผิว คือ ความเร็วรอบ รัศมีจมูกมีด อัตราป้อน และความลึกในการตัด โดยค่าความขรุขระผิวมีแนวโน้มจะลดลงเมื่อใช้อัตราป้อนความลึกในการตัดลดลง และเพิ่มความเร็วรอบ และรัศมีจมูกมีด ให้สูงขึ้น สภาวะที่เหมาะสมต่อค่าความขรุขระผิว คือ ความเร็วรอบ 1,700 รอบต่อนาที อัตราป้อน 0.04 มิลลิเมตรต่อรอบ ความลึกในการตัด 0.1 มิลลิเมตร และรัศมีจมูกมีด 1.2 มิลลิเมตร จะได้ค่าความขรุขระผิวเท่ากับ 0.2589 ไมโครเมตร และจากการกลึงคว้านรูในเพื่อดูลักษณะการสึกหรอของเม็ดมีด พบว่าจะมีการสึกหรอแบบแตกหักที่ปลายคมตัด เนื่องจากการเสียดสีและการกระแทกกับชิ้นงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] Saterachinda M. Cast Iron. 4th edition. Bangkok: Engineering Institute of Thailand; 1996. Thai.
[2] Badadhe AM, Bhave SY, Navale LG. Optimization of cutting parameters in boring operation. IOSR Journal of Mechanical and Civil Engineering. ISSN (e): 2278-1684, ISSN, 2013; p. 10-5.
[3] Kumar P, Oberoi JS, Singh C, Dhiman H. (2014). Analysis and optimization of parameters affecting Surface roughness in boring process. International Journal of Advanced Mechanical Engineering. 2014; 4(6): p. 647-55.
[4] Vaishnav MP, Sonawane, SA. Analysis and optimization of boring process parameters by using taguchi Method on SAE 1541. International Journal of Engineering Science Invention. 2014; 3(8): p. 59-63.
[5] Patil RS, Jadhav SM. Boring parameters optimization for minimum surface roughness using CNC boring machine with passive damping material.In2017 2nd International Conference for Convergence in Technology; (I2CT) 2017 Apr 7 (pp. 300-303). IEEE.
[6] Chutima P. Engineering experiment design. Bangkok: Chulalongkorn University Press; 2002. Thai.
[7] Montgomery DC. Design and Analysis of Experiments. 7th edition. New York: John Wiley & Sons Inc; 2012.
[8] Sudasna-na-ayudthya P, Luangpaiboon P. Design and Analysis of Experiments. Bangkok: Top Publishing; 2008. Thai.
[9] Rawangwong S, Burapa R, Rodjananugoon J. Prediction of Surface Roughness in Turning of Aluminum Casting Semi-Solid 7075 Using Response Surface Methodology. Proceedings of the 13th Eco-Energy and Materials Science and Engineering Symposium, 2016 December 1-4, Udonthani, Thailand; 2016, p. 450-9. Thai.
[10] Yuvarajua BA, Nandaa BK. Prediction of vibration amplitude and surface roughness in boring operation by response surface methodology. Materials today: Proceedings. 2018 Jan 1; 5(2):6906-15.
[11] Boonrawd W, Ratanawilai T. Effect of turning parameters on surface roughness of aluminum casting semi-Solid. Research and Development Jounal. 2012; 23(4): p. 71-7. Thai.
[12]Beauchamp Y, Thomas M, Youssef YA, Masounave J. Investigation of cutting parameter effects on surface roughness in lathe boring operation by use of a full factorial design.Computer _Industrial Engineering. 1996 Dec 1;31(3-4):645-51.
[13] Ruksorn P, Deepradit S. (2017). The prediction of surface roughness in the S45C turning process by using response surface design. Thai Journal of Operations Research. 2017;
7(2): p. 13-9. Thai.
[14] Chanphong S. Prediction of surface roughness for steel in CNC turing by response surface method. M.Eng. thesis.Chulalongkorn University Bangkok; 2011

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-08

How to Cite

โรจนานุกูล จ. ., ระวังวงศ์ ส. ., & หอมเขียว ช. . (2021). การพยากรณ์ค่าความขรุขระผิวในการกลึงคว้านรูในเหล็กหล่อเหนียวโดยใช้วิธีการพื้นผิวผลตอบสนองและการสึกหรอของเม็ดมีด. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 6(2), 1–10. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2021.6