การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำดื่ม กรณีศึกษา โรงงานน้ำดื่มแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ฐิติ หมอรักษา สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • นรา สมัตถภาพงศ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศุภกิตติ์ ยืนยาว สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • พงศธร วงษ์สกุล สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2020.11

คำสำคัญ:

การจำลองสถานการณ์, การปรับปรุง, กระบวนการผลิต, น้ำดื่ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์ในการออกแบบกระบวนการผลิตเพื่อลดเวลาในการผลิต น้ำดื่มชนิดถัง กระบวนการผลิตน้ำดื่มชนิดถัง ซึ่งมีปริมาณการผลิตจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 88.73 ของการผลิตรวมทั้งหมด ใช้เวลา 26,966.34 วินาทีต่อปริมาณการผลิต 400 ถังหรือ 67.42 วินาทีต่อถัง ได้ถูกเลือกนำมาศึกษาพบว่าปัญหาคอขวดเกิดขึ้นที่ขั้นตอนบรรจุ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงสร้างทางเลือกขึ้นมา 3 ทางเลือก เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จากนั้นทำการจำลองสถานการณ์ของกระบวนการผลิตน้ำดื่มชนิดถังด้วยโปรแกรม Flexsim® และทำการทดสอบแต่ละทางเลือก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทางเลือกแบบเพิ่มพนักงาน 1 คน และเพิ่มเครื่องบรรจุน้ำถัง ทำให้ลดเวลาเหลือ 17,093.80 วินาทีต่อปริมาณการผลิต 400 ถังหรือ 42.73 วินาทีต่อถัง เวลาที่ลดไปจากปัจจุบัน คือ 9,873.54 วินาที หรือ 2 ชั่วโมง 44 นาที และเฉลี่ย 24.68 วินาทีต่อถัง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 36.61

Downloads

Download data is not yet available.

References

1.Thongma W. Opinions towards legal measures for drinking water vending machine business and behaviour on using drinking water vending machines in Baan Suan municipaliy, amphoe Mueang, Chonburi Province. MPA thesis. Burapha University; 2016.Thai.
2.Pisuchpen R. Modeling Manual with Arena. Bangkok: SE-Education;2008.Thai.
3.Suracherdkiati W. Computer Simulation. Pathum Thani: Skybook; 2001.Thai.
4.Kelton D, Sadowski R, Sturrock D. Simulation With Arena. 4th ed. New York: McGraw -Hill; 2007.
5.Sitticharoen W. Work Study. Bangkok: Odeon Store; 2004.Thai.
6.Saengkularb W, Tharmmaphornphilas W. Simulation model for operator allocation in head gimbal assembly line. Eng J CMU. 2019;26(1): 207-66.Thai.
7.Kengpol A, Youngswaing W. Application of concurrent engineering and simulations in productivity improvement of the pipe bending: A case study in an oil pipe manufacturer. The J of KMUTNB. 2015;25(2): 233-42.Thai.
8.Sujaree K, Samattapapong N. An application of simulation modeling in warehouse efficiency improvement. In: Rajamangala Manufacturing & anagement Technology Conference 2019; 2019 May 30-31; The Empress Chiang Mai Hotel. Chiang Mai: Rajamangala University of Technology Lanna; 2019. p. 474-478.Thai.
9.Banthao J, Klaenkratoke R, Kaewhlang R. Queuing system simulation at a drug dispensing: A case study of Chok Chai hospital. In: The 35th Conference of Industrial Engineering Network
2017; 2017 July 12-15; The Empress Chiang Mai Hotel. Chiang Mai: Chiang Mai University; 2017.p. 1124-1129.Thai.
10.Bunterngchit C. Simulation-based application in warehouse layout design for reducing material handling time. Kasem Bundit Eng J, 2018;8(3):1-14.Thai.
11.Chandrakumar C, Gowrynathan J, Kulatunga A, Sanjeevan N. Incorporate lean and green concepts to enhance the productivity of transshipment terminal operations. Procedia CIRP. 2016;40:301-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

หมอรักษา ฐ. ., สมัตถภาพงศ์ น. ., ยืนยาว ศ. ., & วงษ์สกุล พ. . (2020). การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำดื่ม กรณีศึกษา โรงงานน้ำดื่มแห่งหนึ่งในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 5(2), 36–42. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2020.11