การพัฒนาก้อนถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านของโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนทองแสนขันด้วยแอลกอฮอล์แข็งเพื่อการติดไฟและการเผาไหม้ของก้อนถ่านอัดแท่ง

ผู้แต่ง

  • รัศมี สิทธิขันแก้ว วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กรวิทย์ พุ่มพวง สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ศักดิ์ดา แสงสุวรรณ สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สกุลชาติ ขุนเพ็ชร สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นฤมล สีพลไกร สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ประเทือง โมราราย ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2020.10

คำสำคัญ:

การติดไฟ, การเผาไหม้, ถ่านอัดแท่ง, แอลกอฮอล์แข็ง, โรงไฟฟ้าชีวมวล

บทคัดย่อ

เศษถ่านของโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนทองแสนขัน ซึ่งมีลักษณะเป็นเศษถ่านก้อนเล็ก ๆ เมื่อนำมาทำการติดไฟและทำให้เกิดการเผาไหม้ต่อเนื่องในเตาหุงต้มระดับครัวเรือนนั้นไม่สามารถทำได้ ในการวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการพัฒนาเศษถ่านของโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนทองแสนขันให้เกิดการเพิ่มการติดไฟและการเผาไหม้ โดยใช้กระบวนการบดและอัดเศษถ่านให้เป็นก้อนถ่านอัดแท่งรูปทรงกระบอก และมุ่งเน้นการพัฒนาด้วยการผสมแอลกอฮอล์แข็งในกระบวนการผลิตก้อนถ่านอัดแท่ง ที่ค่าร้อยละ 2.16 4.48 7.04 และ 10.00 โดยน้ำหนัก เปรียบเทียบกับการผลิตก้อนถ่านอัดแท่งแบบที่มีการชุบเคลือบแอลกอฮอล์แข็ง และแบบไม่ผสมแอลกอฮอล์แข็ง ผลการศึกษาพบว่า การผสมด้วยแอลกอฮอล์แข็งและแบบที่มีการชุบเคลือบแอลกอฮอล์แข็ง ให้ผลดีกว่าแบบไม่ผสมแอลกอฮอล์แข็ง ทั้งระยะเวลาในการติดไฟและการเผาไหม้ก้อนถ่านเพื่อให้ถ่านแดงทั่วทั้งก้อน ส่วนพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการเผาไหม้ของก้อนถ่านอัดแท่ง น้ำหนัก 200 กรัม เมื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาหุงต้มระดับครัวเรือน พบว่าถ่านอัดแท่งสูตรที่ 2 ซึ่งผสมแอลกอฮอล์แข็ง ร้อยละ 2.16 โดยน้ำหนัก ให้ค่าพลังงานความร้อนสูงสุด เท่ากับ 303,000 แคลอรี่ และทำให้อุณหภูมิของน้ำในหม้อต้มมีค่าสูงสุด (87 องศาเซลเซียส) ในระยะเวลาการเผาไหม้ 20 นาที ส่วนระยะเวลาการเผาไหม้ก้อนถ่านอัดแท่งจนมอดดับนาน 96 นาที ถ่านอัดแท่งสูตรที่ 2 จึงมีความเหมาะสมมากที่สุดในการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในเตาหุงต้มระดับครัวเรือน

Downloads

Download data is not yet available.

References

1.Chaiwattanapipat W, Manonai J, Feungoui P, Phiphattanaphiphop C. The study of property and ingredients of wood pellet from bamboo. Thai Industrial Engineering Network Journal. 2018; 4(2):21-7.Thai.
2.Wattanachira L, Laapan N, Chatchavarn V, Thanyacharoen A, Rakruam P. Development of biobriquettes from mixed rice-straw and longan waste residues. KMUTT Research and Development Journal. 2016; 39(2):239-255.Thai.
3.Tangmankongworakoon N. The production of fuel briquettes from bio-agricultural wastes and household wastes. Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology). 2014; 11:66-77.Thai.
4.Jutajan W. A study of charcoal burning process and properties of briquetted charcoal from vetiver grass. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University. 2019; 9(2):135-46.Thai.
5.Wilaipon P, Chareonsawan P, Srihawong N, Menkoed C, Prakobkasikorn P, Kumboon P. Briquette ratio investigation of charcoal briquette produced from brick-burning-process residual charcoal. RMUTL. Eng. J. 2019; 4(1):43-50.Thai.
6.Chanchaiphoom H. Charcoal from shell tamarind. In: RTUNC 2018: Proceedings of the 3rd National Conference; 2018 May 25; Thailand, p. 288-96.
7.Jangsawang W. Gas technology for production of producer gas from biomass. Bangkok: Danax Inter Corporation Company; 2013.
8.Koolwattanaporn S. Resource center, food and drug administration. Production of solid alcohol. Available from: http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15672&id_L3=1128 [Accessed 11th February 2020].
9.Soontraruk S, Makmoon D, Wongmalee W. The development of charcoal fuel briquettes from eucalptus leaves and brasiliensis leaves. In: NIRC II 2018: Proceedings of the 2rd National and International Research Conference; Thailand, p. 339-348.
10.Chuaythong T, Chaichana T, Amloy S. Properties of charcoal from areca catechu linn shells. Thaksin University Journal. 2014; 39(2):68-75.Thai.
11.Chutsawang N. Charcoal briquette from durian husk in Tombol Kwuanhuk community enterprise, Khlung, Chanthaburi. M.Eng. Thesis. Rambhai Barni Rajabhat University; 2013.
12.Torsakul S, Thongsri K, Supharattana C. Development of charcoal briquette from scrapped coconut for alternative energy. In: IE Network Conference 2012: Proceedings of the Industrial Challenges in the ASEAN Economic Community; 2012 October 17-19; Thailand, p. 1381-86.
13.Boontheung N. The physical and thermal properties of compressed corncob coconut shell compostie charcoal using bio-fermentation as a binding agent. M.Sc.Thesis. Chiang Mai Rajabhat University; 2011.
14.Tippayawong N. Gas Technology for Biomass Transformation. Bangkok: TPA Publishing; 2012.
15.Wikipedia. Ethanol. Available from: https://en. wikipedia. org/wiki/Ethanol [Accessed 15th April 2020].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

สิทธิขันแก้ว ร. . ., พุ่มพวง ก. ., แสงสุวรรณ ศ. ., ขุนเพ็ชร ส. ., สีพลไกร น. ., & โมราราย ป. . (2020). การพัฒนาก้อนถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านของโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนทองแสนขันด้วยแอลกอฮอล์แข็งเพื่อการติดไฟและการเผาไหม้ของก้อนถ่านอัดแท่ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 5(2), 26–35. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2020.10