กำลังรับแรงอัดของอิฐบล็อกประสานจากดินลูกรังผสมซีเมนต์ด้วยเถ้าถ่านหินและเถ้าชีวมวล

ผู้แต่ง

  • ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • วีระชาติ อินตา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ธีรวัฒน์ คำใจ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • เศวตสุนทร ชินะกุล สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2020.3

คำสำคัญ:

อิฐบล็อกประสาน, ถ่านหิน, ชีวมวล, เถ้า, กำลังรับแรงอัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อนำเถ้าถ่านหินและเถ้าชีวมวลที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งจากการผลิดไฟฟ้า มาแทนที่ปูนซีเมนต์เพื่อการผลิตอิฐบล็อกประสานจากดินลูกรัง การศึกษาใช้เถ้าจากถ่านหินจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และเถ้าชีวมวล จากโรงไฟฟ้าชีวมวล จังหวัดลำพูน ตัวอย่างอิฐบล็อกประสานมีสัดส่วนการแทนที่ปูนซีเมนต์ต่อเถ้าลอยหรือเถ้าหนักเท่ากับ 0.7:0.3 0.6:0.4 0.5:0.5 0.4:0.6 และ 0.3:0.7 ตามลำดับ ที่อายุการบ่ม 3 7 14 และ 28 วัน มีการศึกษากำลังรับแรงอัด หน่วยน้ำหนัก และการดูดกลืนน้ำของตัวอย่าง ผลการทดสอบพบว่า หน่วยน้ำหนักของอิฐบล็อกประสานลดลงตามสัดส่วนของเถ้าที่เพิ่มขึ้น สำหรับกำลังรับแรงอัดตัวอย่างอิฐบล็อกประสานที่อัตราส่วนซีเมนต์ต่อเถ้า 0.7:0.3 มีค่ากำลังสูงสุดและผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของคอนกรีตบล็อกชนิดรับน้ำหนัก มอก. 57-2533 ในขณะที่สัดส่วนอื่น ๆ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก มอก. 58-2533 โดยอิฐบล็อกประสานสามารถพัฒนากำลังได้ตามมาตรฐานคอนกรีตบล็อกประสานชนิดรับน้ำหนักด้วยสัดส่วนที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบประโยชน์ของการแทนที่ด้วยเถ้าทำให้อิฐบล็อกประสานมีหน่วยน้ำหนักที่ลดลงเป็นประโยชน์ในการลดน้ำหนักบรรทุกขององค์อาคาร การนำวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมมาใช้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดปริมาณปูนซีเมนต์ ส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการก่อสร้าง

Downloads

Download data is not yet available.

References

1.Saisuthanawit S, Charoenchai N. Engineering economic value analysis of interlocking block pilot plant using Mae Moh power plant bottom ash. NUEJ. 2018;13(1): 80-98. Thai.

2.Kamhang W, Janbanjong B. Thailand institute of scientific and technological research (online). Available: fromhttp://technologyblockprasan.com/information1_2.php/ [Accessed: 30 June 2018].

3.Dasaesamoh A, Maha H, Chebueraheng H. Properties of interlocking block from para rubber wood fly ash mixed Narathiwat kaolin. J. Res. Unit Sci. Tech. Environ. Learning. 2014; 5(2):202-208.Thai.

4.Saramakon S. Usage of fly ash for manufacturing interlocking block. Master Thesis. Suranaree University of Technology, Nakhonratchasima; 2013.Thai.

5.Rukzon S, Phupa W, Ngenprom N, Chindaprasirt P. Final Report. The innovation of use bottom ash on green concrete. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Bangkok; 2012. Thai.

6.Sujjavanich S, Suwanwitaya P. Final Report. Durability of fly ash concrete. Electricity generating authority of Thailand. April. 2003. Thai.

7.Dumrongsil S, Sujjavanich S. Effect of Cement containing binary blended bagasse ash-fly ash on physical and mechanical properties of concrete. KMUTT Research and Development Journal. 2007;30(3):489-499.Thai.

8.Dumrongsil S, Sujjavanich S. Effect of Cement containing binary blended bagasse ash-fly ash on physical and mechanical properties of concrete. KMUTT Research and Development Journal. 2007;30(3):489-499.Thai.

9.Dechburum A, Chaimoon K. Properties of interlocking block containing fly ash and bottom ash. SWU Engineering Journal. 2019;14(1):99-105.Thai.

10.Klabprasit T, Jaturapitakkul C, Chindaprasirt P, Songpiriyakij S. Fly ash and biomass ash Based geopolymer pastes Part I: Effect of mix proportion on compressive strength. Research
and Development Journal. 2008;19(2):11-16. Thai.

11.Ramjan S, Tangchirapat W, Jaturapitakkul C. Effect of finesses of fly ash and rice husk ash on compressive strength and expansion of mortar in accelerated mortar bar method. Journal of Thailand Concrete Association. 2017;5(1):1-13.Thai.

12.TIS. 1990. Standard for hollow-bearing concrete masonry unit. TIS 57-2533. Thai Industrial Standards Institute.

13.TIS. 1990. Standard for hollow non-load-bearing concrete masonry unit. TIS 58-2533. Thai Industrial Standards Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

พันธุ์ท่าช้าง ฐ. ., อินตา ว. ., คำใจ ธ. ., & ชินะกุล เ. . (2020). กำลังรับแรงอัดของอิฐบล็อกประสานจากดินลูกรังผสมซีเมนต์ด้วยเถ้าถ่านหินและเถ้าชีวมวล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 5(1), 15–24. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2020.3