สารรักษาความเสถียรน้ำยางธรรมชาติจากน้ำมันปาล์ม

ผู้แต่ง

  • ดริญญา มูลชัย สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อรุณศรี เอี่ยมรัมย์ สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ลักขณา ภัทชวงค์ สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อนุวัฒน์ คงราม สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อัครสิริ แก้วศรีนวล สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

น้ำยางธรรมชาติ, สารรักษาความเสถียร, น้ำมันปาล์ม, โพแทสเซียมโอลิเอต, ความเสถียรเชิงกล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้สบู่น้ำมันปาล์มจากเมล็ด และสบู่น้ำมันปาล์มเกรดการค้า เป็นสารรักษาความเสถียรในน้ำยางซึ่งสบู่น้ำมันปาล์มสามารถเตรียมได้จากปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันโดยมีสารตั้งต้นคือ น้ำมันปาล์ม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ และน้ำ จากนั้นเปรียบเทียบค่าความเสถียรเชิงกล (Mechanical stability time; MST) ของน้ำยางธรรมชาติที่ใช้สบู่น้ำมันปาล์มทั้ง  2 ชนิด กับน้ำยางที่ใช้สบู่โพแทสเซียมโอลิเอตเป็นสารรักษาความเสถียร โดยแปรปริมาณสารรักษาความเสถียรที่ 0.10, 0.25 และ 0.40 ส่วนต่อเนื้อยางแห้ง 100 ส่วน (phr) พบว่าการใช้สารรักษาความเสถียรที่ 0.40 phr ให้น้ำยางมีค่าความเสถียรเชิงกลมากที่สุด  โดยที่สบู่โพแทสเซียมโอลิเอตให้ค่าความเสถียรเชิงกลสูงที่สุด (MST: มากกว่า 3,600 วินาที) รองลงมาได้แก่ สบู่น้ำมันปาล์มจากเมล็ด (MST: 3,110 วินาที) และสบู่จากน้ำมันปาล์มเกรดการค้า (MST: 2,190 วินาที) ตามลำดับ เมื่อนำน้ำยางธรรมชาติไปขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ลูกโป่งด้วยกระบวนการแบบจุ่ม พบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณสารรักษาความเสถียรทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความหนาลดลง และการใช้สบู่โพแทสเซียมโอลิเอตในปริมาณ 0.40 phr จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความหนาใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Hasma H. Lipids associated with rubber particles and their possible role in mechanical stability of latex concentrates. J Nat Rubb Res. 1991; 6(2): 105-14

2. Kajornchaiyakul V. Natural Rubber Product. Bangkok: Rubber Research Institute; 1994. Thai

3. Suchat S. Natural Rubber: Processing. Bangkok: O. S. Printing House Publishing; 2015. Thai

4. Rubber Digest. Stabilizer. Available from:http://rubberdigest.com/?p=117 [Accessed 10th September 2019]. Thai

5. Manjula-Dilkushi-Silva K, Walpalage S. Effects of added ammonium laurate soap on natural rubber latex. J. Rubb Res. 2009; 12(2): 59-70

6. Food Network Solution. Palm oil. Available from: http://foodnetworksolution.com/wiki/word/001300/palm-oil [Accessed 10th September 2019]. Thai

7. Kittiratanapiboon K, Tokamolthom J, Krisnangkura K. Determination of minor components in edible oils from Thai groceries by HPSEC. KMUTT R&D J.2008; 32(2-3): 241-51. Thai

8. Kajornchaiyakul V. Latex Technology. Bangkok: The Thailand Research Fund; 2012. Thai

9. Nithi-Uthai B, Nithi-Uthai P, Pongbhai P, Samphao-Ngoen S, Noreewong N, Wutthichan C. Development of mechanical stabilization time of natural rubber latex. PSU (Pattani). Faculty of Science and Technology. Report order key: 2443, 1995. Thai

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26