การวิเคราะห์อัตราส่วนผสมสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านของกระบวนการเผาอิฐมอญ
คำสำคัญ:
ถ่านอัดแท่ง, เศษถ่าน, เผาอิฐบทคัดย่อ
ผลการสำรวจภาคสนามจากโรงเผาอิฐขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่ามีเศษถ่านไม้เหลือหลังจากกระบวนการเผาอิฐเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีศักยภาพในการนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตถ่านอัดแท่งเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเศษเชื้อเพลิงจากการผลิต ในการศึกษาครั้งนี้ได้นำเศษถ่านดังกล่าวมาทำการอัดแท่งเชื้อเพลิงโดยใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นตัวเชื่อมประสาน ที่ความดัน 5 เมกกะปาสคาล โดยทำการศึกษาในอัตราส่วนผสมของผงถ่าน (42-51%) ต่อน้ำ (41-51%) และแป้งมันซึ่งเป็นตัวเชื่อมประสาน (2-14%) โดยมวล จากการทดสอบการเผาไหม้โดยใช้การให้ความร้อนแก่น้ำ พบว่าถ่านอัดแท่งที่ผลิตด้วยอัตราส่วนผงถ่าน 49% น้ำ 49% และแป้งมันสำปะหลัง 2% มีคุณสมบัติด้านระยะเวลาเริ่มติดไฟและระยะเวลาน้ำเดือดดีที่สุด โดยมีค่าความร้อนในช่วง 6726 แคลอรี่ต่อกรัม
Downloads
References
[2] รุ่งโรจน์ พุทธีสกุล, อุปวิทย์ สุวคันธกุล, อัมพร กุญชรรัตน์. การผลิตถ่านอัดแท่งจากถ่านกะลามะพร้าวและถ่านเหง้ามันสำปะหลัง. วารสารวิชาการอุตสาหกรรม ศึกษา. 2553;4(2):18-28.
[3] ปราณี วุ่นศรี, วราวุฒิ ดวงศิริ, นุชลี ทิพย์มณฑา. การศึกษาวิธีการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากขี้เลื่อยไม้ยางพารากับมูลสัตว์. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ. 2018;12(2):17-25.
[4] Antwi-Boasiako C, Acheampong BB. Strength properties and calorific values of sawdust-briquettes as wood-residue energy generation source from tropical hardwoods of different densities. Biomass and Bioenergy. 2016;85:144-152.
[5] Tantisattayakul T, Phongsasem S, Phooyar P. Taibangury P. Community-based renewable energy from biomass briquettes fuel from coconut leaf. Thai Journal of Science and Technology. 2558;3:418-31.Thai
[6] Sasujit K, Sanpinit W, Wongrin N, Dussadee N. Study of process densification of corn cob and corn husk briquettes by cold extrusion technique using starch with lime mixed as binder. Thaksin University Journal. 2558;18:5-12. Thai
[7] Teixeira SR, Pena AFV, Miguel AG. Briquetting of charcoal from sugar-cane bagasse fly ash (scbfa) as an alternative fuel. Waste Management 2010;30(5):804-7.
[8] Massaro MM, Son SF, Groven LJ. Mechanical, pyrolysis, and combustion characterization of briquetted coal fines with municipal solid waste plastic (MSW) binders. Fuel 2014;115:62-69.
[9] Ndindeng SA, Mbassi JEG, Mbacham WF, Manful J, Acquaah SG, Moreira J, Dossou J, Futakuchi K. Quality optimization in briquettes made from rice milling by-products. Energy for Sustainable Development 2015;29:24-31.
[10] Jittabut P. Physical and Thermal Properties of Briquette Fuels from Rice Straw and Sugarcane Leaves by Mixing Molasses. Energy Procedia 2015;79:2-9.
[11] Yank A, Ngadi M, Kok R. Physical properties of rice husk and bran briquette under low pressure densification for rural applicaton. Biomass and Bioenergy. 2016;84:22-30.