การออกแบบระบบรากสายดินในสถานีไฟฟ้า โดยวิธีการหาค่าที่เหมาะสุดหลายฟังก์ชันวัตถุประสงค์

ผู้แต่ง

  • ประสงค์ เจริญวงค์ หน่วยวิจัยนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • กฤติเดช บัวใหญ่ หน่วยวิจัยนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • กาณฑ์ เกิดชื่น หน่วยวิจัยนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

รากสายดิน, การหาค่าที่เหมาะสุดหลายวัตถุประสงค์, กราวด์กริด

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบระบบรากสายดินในสถานีไฟฟ้าโดยวิธีการหาค่าที่เหมาะสุดแบบหลายวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นการหาค่าด้วยวิธีการเชิงพันธุกรรมแบบการจัดการลำดับที่ไม่ครอบงำ ระบบรากสายดินในสถานีไฟฟ้าจะต้องมีความปลอดภัยต่อชีวิตและอุปกรณ์ไฟฟ้า และมีราคาประหยัด ในฟังก์ชันเป้าหมายของการหาค่าที่เหมาะสมจึงประกอบด้วยราคาของวัสดุ ค่าแรงในการติดตั้ง และเงื่อนไขของความปลอดภัย จากผลการทดสอบพบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาได้อย่างดี ทำให้ระบบรากสายดินสามารถออกแบบได้อย่างประหยัด และปลอดภัย นอกจากนี้ในบทความนี้ยังทำการทดสอบการออกแบบระบบรากสายดินจากสถานีไฟฟ้าจริง เปรียบเทียบผลลัพธ์กับวิธีหาค่าที่เหมาะสุดด้วยวิธีเชิงพันธุกรรมและวิธีหาค่าที่เหมาะแบบกลุ่มอนุภาค

Downloads

Download data is not yet available.

References

[1] Ahmed Z. Gabr, Ahmed A. Helal, Hussein E. Said. Optimal Design of Substation Grounding Grid Based on Genetic Algorithm Technique. World Academy of Science Engineering and Technology International Journal of Electrical. Computer, Energetic, Electronic, and Communication Engineering. 2016;10(7):863-9.

[2] Chun-Yao Lee, Yi-Xing Shen. Optimal Planning of Ground Grid Based on Particle Swam Algorithm. World Academy of Science Engineering and Technology International Journal of Electrical, Computer, Energetic, Electronic, and Communication Engineering, 2009;3(12):2235-42.

[3] IEEE Power Engineering Society. IEEE Guide for Safety in AC Substation Grounding. in ANSI/IEEE Std. 80 (Revision of IEEE Std 80-1986), New York: 2000.

[4] พงศ์พันธ์ ปริยวงศ์. หลักการระบบสายดินและการประยุกต์ใช้งาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

[5] B.Alik, M.Teguar, B.Mekhaldi. Minimization of Grounding System Cost Using PSO, GAO, and HPSGAO Techniques. in IEEE Transaction on Power Delivery, 2015;30(6):2561-9.

[6] ภรัณยา อำมฤครัตน์, พยุง มีสัจ. การหาค่าเหมาะสมที่สุดที่มีหลายวัตถุประสงค์ด้วยขั้นตอนวิธีด้านวิวัฒนาการ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ 2555;8(2):73-80.

[7] Deb K, Pratap A, Agarwal S, Meyarivan T. A fast and elitist multi objective genetic algorithm: NSGA-II.IEEE Trans., Evol. Comput. 2002;6(2):182–197.

[8] Chang Y, Bouzarkouna Z, Devegowda D. Multi-objective optimization for rapid and robust optimal oilfield development under geological uncertainty. Computational Geosciences. 2015; 19:933–950.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30