สายอากาศเครื่องอ่านข้อมูลอาร์เอฟไอดีย่านความถี่ต่าส่าหรับประยุกต์ใช้กับระบบสายพานลำเลียง
คำสำคัญ:
อาร์เอฟไอดีย่านความถี่ต่ำ, อาร์เอฟไอดีสนามระยะใกล้, สายอากาศบ่วงก้นหอยบทคัดย่อ
บทความนี้น่าเสนอสายอากาศบ่วงก้นหอยส่าหรับระบบระบุลักษณะทางคลื่นวิทยุย่านความถี่ต่ำในการประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบสายพานลำเลียง โครงสร้างของสายอากาศบ่วงก้นหอยสามารถกระจายสนามแม่เหล็กในองค์ประกอบทิศทางหลัก (องค์ประกอบทิศทางHx Hy และ Hz) และเพิ่มระยะทางในการติดต่อสื่อสารในทิศทางหลัก ส่าหรับสายอากาศที่น่าเสนอมีขนาดโดยรวม คือ 55 × 60 เซนติเมตร สร้างด้วยลวดทองแดงเบอร์ 24 และมีการป้อนสัญญาณด้วยคอนเน็คเตอร์ชนิด BNC ในการวิเคราะห์การกระจาย สนามแม่เหล็กและสมรรถนะการติดต่อสื่อสารในแต่ละองค์ประกอบทิศทางหลักได้วิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมNumericalelectromagnetics code (NEC) นอกจากนี้ได้สร้างสายอากาศต้นแบบเพื่อใช้ในการทดสอบเพื่อยืนยันสมรรถนะในการติดต่อสื่อสารระหว่างสายอากาศเครื่องอ่านกับแท็ก ผลการทดสอบพบว่า สายอากาศบ่วงก้นหอยมีระยะในการติดต่อสื่อสารสูงสุด 40 เซนติเมตรในทุกทิศทางหลัก (ทิศทางในแนวแกน x y และ z) โดยมีเปอร์เซ็นต์เชิงพื้นผิวเท่ากับ 76.34% ในแนวแกน x 98.96% ในแนวแกน y และ 67.56% ในแนวแกน z ตามลำดับ ส่าหรับผลการทดสอบการประยุกต์ใช้กับระบบสายพานลำเลียงพบว่า สายอากาศมีระยะทางในการติดต่อสื่อสารสูงสุดในแนวแกน x ที่ระยะ 25 เซนติเมตร ในแนวแกน y ที่ระยะ 40 เซนติเมตร และในแนวแกน z ที่ระยะ 40 เซนติเมตร โดยมีเปอร์เซ็นต์เชิงพื้นผิวเท่ากับ 42.50% 100% และ 95% ในแนวแกน x y และ z ตามลำดับ
Downloads
References
2. Paret D. ( 2 00 5) . RFID and Contactless Smart Card Applications, John Wiley&Sons, New York.
3. AN678 RFID Coil Design, Statistic Data,URL:http://www.microchip.com, access on 11/10/2015
4. มาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์เรื่องเครื่องวิทยุคมนาคมประเภท RadioFrequency Identification: RFID (กทช. มท. 1010 – 2550)
5. Cooney, E.M. (2006). The complete review of radio frequency identification, THOMSON DELMAR LEANING.
6. Cole, P.,Ranasinghe, D. and Jamali, B. (2003).Coupling Relations in RFID Systems II: Practical Performance Measurements, White paper,October 2003, pp.1-33.
7. RFID Coupling Techniques, Statistic Data,URL:http://www.radio-electronics.com, access on 11/10/2015
8. Nikitin, P.V., Rao, K. V. S.and Lazar, S. (2007).An overview of near field UHF RFID, in Proceedings of the IEEE International Conference on RFID 2007, Grapevine, Tex,USA, March 2007, pp. 166–174.
9. วิวัฒน์ ชวนะนิกุล อรรณพ สุริยสมบูรณ์ มนกานต์ อินทรก่าแหง และวุฒิชัย กลมเกลียว (2551), รูปแบบการจัดการฟาร์มอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี RFID, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ส่านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
10. ดนัย ต.รุ่งเรือง ชูวงค์ พงศ์เจริญพาณิชย์ ไพโรจน์ วุ่นชุม และคณะ (2549), การออกแบบสายอากาศ RFID ส่าหรับระบบลงทะเบียนสัตว์, รายงานการวิจัยพัฒนา และวิศวกรรมฉบับสมบูรณ์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ส่านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
11. ดนัย ต.รุ่งเรือง ชูวงค์ พงศ์เจริญพาณิชย์ ศุภกิต แก้วดวงตา และคณะ (2551), การเพิ่มประสิทธิภาพของสายอากาศRFID ส่าหรับระบบลงทะเบียนสัตว์,รายงานการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรมฉบับสมบูรณ์,ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ส่านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
12. Balanis, C. A. (1997). Antenna theory: analysis and design, John Wiley & Sons, New York.
13. NEC2 Software, Statistic Data, URL:http://4nec2.software.informer.com
14. Kawdungta, S., Phongcharoenpanich, C. and Torrungrueng, D. (2010). Design of a Novel Dual-Loop Gate Antenna for Radio Frequency Identification (RFID) Systems at Low FrequencyBand, Progress In Electromagnetics Research C, vol. 12, pp. 1-14.