การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงในเครื่องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ระบบไฮโดรลิกเพื่อป้องกันการล้มคว่ำ

ผู้แต่ง

  • น้ำมนต์ โชติวิศรุต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • วัชรินทร์ แสงเงิน สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ณัฐนันท์ ค้ำจุน สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ปัญญา ดวงแก้วเรือน สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • พงศธร เดชธรรม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2016.17

คำสำคัญ:

เคลื่อนย้ายผู้ป่วย, จุดศูนย์ถ่วง, ไฮดรอลิก

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ระบบไฮดรอลิกโดยมีวัตถุประสงค์คือใช้ยกและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บกล้ามเนื้อของผู้เคลื่อนย้าย โดยในแง่ของความปลอดภัยนั้นได้มีการวิเคราะห์ค่าตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงของเครื่องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เปลี่ยนตำแหน่งไปเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมุมฐานหมุนและมุมก้มเงยคานขณะทำการยกภาระโหลดน้ำหนักที่แขวนไว้ปลายคานเพื่อป้องกันการล้มคว่ำขณะใช้งานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมา ซึ่่งผลการวิเคราะห์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมานั้นได้นำไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบจุดศูนย์ถ่วงโดยวิธีนำเครื่องไปแขวนกับคานรับน้ำหนักเพื่อหาตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงโดยใช้จุดตัดของเส้นแนวดิ่ง โดยผลการทดลองการทำงานของเครื่องพบว่าแรงดันในกระบอกสูบไฮดรอลิกที่ใช้ขับเคลื่อนหมุนฐานของเครื่องนั้นแปรเปลี่ยนโดยไม่มีนัยสำคัญต่อมุมที่ฐานหมุน ส่วนแรงดันในกระบอกสูบไฮดรอลิกที่ใช้ยกคานจะแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของภาระโหลดที่ปลายคานในอัตราคงที่ส่วนการวิเคราะห์ระยะการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์ถ่วงของเครื่องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใชโ้ ปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมาน้นั พบวา่ นอกจากจุดศูนย์ถ่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามมุมฐานหมุนและมุมก้มเงยคานของเครื่องยกผู้ป่วยแล้วยังมีการแปรผันตามภาระโหลดน้ำหนักที่แขวนไว้ปลายคานโดยมุมการทำงานของเครื่องยกผู้ป่วยที่ทำให้ค่าตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงเคลื่อนออกจากจุด origin คือโคนของเสายกมาทางระนาบแกน x มากที่สุดนั้นอยู่ที่มุมฐานหมุน 90 องศามุมเงยคาน 20 องศาขณะรับโหลดยกที่ปลายคานเท่ากับ 120 กิโลกรัมจะมีค่าระยะการเคลื่อนของจุดศูนย์ถ่วงออกมา 0.67 เมตรซึ่งยังไม่เคลื่อนหลุดออกนอกฐานโครงสร้างของเครื่องจึงไม่พลิกล้มโดยเมื่อนำค่าที่ได้นี้ไปเปรียบเทียบกับการทดสอบจริงโดยวิธี plumb Lines พบว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมานั้นมีความคลาดเคลื่อน 20.44 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมาจากความคลาดเคลื่อนของการจัดวางตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงของอุปกรณ์ย่อยบนเครื่องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนี้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นมา

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Patient lifter equipment. Available from:http://www.news.rmutt.ac.th/archives/11465[Accessed 20th June 2014].
2. Patient lifter unit. Available from : http://www.dolphinstairlifts.com/products/[Accessed 20thJune 2014].
3. Pichaiya. T and Mongkolgeard. K. Innovation oflow cost hydraulic structure for patient lifting purpose;2001: P 5 – 9.
4. Buengmum. L. Impact on half-side parlay sishome attendant. Half-side paralysis attendingactivities at attendant’s house; 2009: P 75 – 78.
5. Kachinthorn. N. Mobile patient lifter: Daily NewsPress: November; 2013.
6. Electrical patient lifter. Available from: http://thai.alibaba.com/product-gs/jy-ywd01-electric-patient-lift - 570964256.html [Accessed 10th September2014].
7. Finding the Center of Gravity Using Plumb Lines.Available from: https://www.nasa.gov/audience/foreducators/topnav/materials/listbytype/ETE_Plumb_Lines.html [Accessed 15th June 2016].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-01

How to Cite

โชติวิศรุต น., แสงเงิน ว., ค้ำจุน ณ., ดวงแก้วเรือน ป., เดชธรรม พ., & เกียรติศิริโรจน์ ท. (2016). การวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงในเครื่องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้ระบบไฮโดรลิกเพื่อป้องกันการล้มคว่ำ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 1(2), 41–46. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2016.17