พัฒนาวัสดุช่วยชี้ตำแหน่งบาร์โค้ดของระบบสื่อการสอนสำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2016.13คำสำคัญ:
ผู้พิการทางสายตา, ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียง, บาร์โค้ด, ระบบช่วยอ่านสื่อการสอนจากบาร์โค้ดบทคัดย่อ
“อยู่อย่างมีประโยชน์และไม่เป็นภาระต่อสังคม” คือคติพจน์ของโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่มีอิทธิพลให้งานวิจัยนี้ต้องเร่งค้นหาแนวทางเพื่อช่วยแก้ปัญหาการเรียนการสอนให้แก่บุคลากรผู้สอนที่มีไม่เพียงพอสำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดและเพื่อช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตา ซึ่งมีขบวนการสอนแบบตัวต่อตัวโดยจับมือนักเรียนไปคลำสัมผัสที่สื่อการสอนแล้วอธิบายโดยให้นักเรียนจินตนาการตาม อีกทั้งผู้สอนต้องอธิบายซ้ำหลายๆ รอบเพื่อให้นักเรียนเข้าใจงานวิจัยนี้จึงประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ด และออกแบบวัสดุช่วยชี้ตำแหน่งบาร์โค้ด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน ช่วยให้มีสมาธิในการเรียนของนักเรียน และช่วยส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผลวิจัยสรุปเป็นเปอร์เซ็นต์ความพึงพอใจได้ว่าการใช้งานด้านฮาร์ดแวร์ได้ 84% ด้านโปรแกรมระบบได้ 97% ด้านคุณูปการได้ 71.42% และด้านภาพรวมเฉลี่ยได้ 78.25% ตามลำดับ
Downloads
References
2. ศิริพร วงศ์รุจิไพโรจน์, วัชชิระ หาญกล้า และประมวล พลอยกมลชุณห์. สื่อการเรียนการสอน โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่;2555.
3. นอร์แมน โจเฟซว้ดู แลนด์ . บาร์โค้ด, หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน, เทคโนโลยีสารสนเทศช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6;2555, หน้า 38 – 45
4. พรศิลป์ พฤทธิวงศ์. การพิมพ์รหัสบาร์โค้ดบนสติ๊กเกอร์ สำหรับติดบนครุภัณฑ์, วารสารวิทยบริการ, ปีที่ 19,เม.ย.-พ.ค.; 2551.
5. ศรันย์ นาคถนอม.การอ่านบาร์โค้ด 2 มิติที่ได้ภาพจากการเคลื่อนที่, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาลัย กรุงเทพสุวรรณภูมิ;2552
6. กฤษฏิ์ คำตื้อ และ กรกันยา โสภณ.ระบบการอ่านบาร์โค้ดสองมิติแบบ QR Code เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา,คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2550.
7. ยุพดี หัตถสิน ธวัชชัย ตาใจ และ อรรถพล ณ ตะกั่วทุ่ง.วัสดุช่วยชี้ตำแหน่งบาร์โค้ดของระบบสื่อการสอนเพื่อนักเรียนผู้พิการสายตา, NCCIT, กทม;2556.
8. ยุพดี หัตถสิน. พัฒนาระบบช่วยอ่านสื่อการสอนจากบาร์โค้ดสำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์, RCCON 2015, 23-24 มีค.2558, โรงแรมเวียงอินทร์,เชียงราย;2558, หน้า439-442
9. ยุพดี หัตถสิน สิริพงษ์ มาทาเม และ สราวิทย์ ทิมอิ่ม.โมเดลบอกสเกลเวลาและน้ำหนักเพื่อฝึกทักษะสำหรับโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์, NCCIT 2014, ภูเก็ต;2557จำนวน 6 หน้า
10. ยุพดี หัตถสิน ณัฐพงศ์ ชุ่มแสง และ ศุภชัย ยุ้งแก้ว. แว่นตาแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา, EENET2014, 26-28 มี.ค.2557, โรงแรมมาริไทม์ ปาร์คแอนด์สปารีสอร์ท.กระบี่;2557.
11. ยุพดี หัตถสิน ณัฐวัฒน์ พยาราษฎร์ ชาญณรงค์ ธรรมเสนา และ สิริพงษ์ มาทาเม. การทดสอบระบบตรวจจับเพื่อความปลอดภัยสำหรับแว่นตาแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางเพื่อผู้พิการทางสายตา, EENET 2015, พ.ค.2558,โรงแรม A One The Royal Cruise, ชลบุรี;2558, หน้า 85-88
12. ยุพดี หัตถสิน ณัฐวัฒน์ พยาราษฎร์ และ ชาญณรงค์ ธรรมเสนา. พัฒนาระบบเสียงและการทดสอบระบบตรวจจับวัตถุในโครงการแว่นตาแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้พิการทางสายตา, NCCIT 2015, 2-3 ก.ค.2558, โรงแรมอโนมา,กรุงเทพฯ;2558,หน้าที่ 553-558
13. มนู กวางแก้ว และ สิทธิชัย จันทพิมพ์. ไม้เท้าพูดได้สำหรับคนพิการทางสายตา, โครงการเยาวชนยอดนักประดิษฐ์ฟิลิปส์ครั้งที่ 6,วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์;2549,หน้า 35 – 36.
14. พรัญฐา จงจำรัสพันธ์ รุจิศา ทรงไตรจักร และธวัชชัย เหลืองโสภาพรรณ.นวัตกรรมเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ยาในค นตาบอด, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2554.
15. วสันต์ ซอมแก้ว และ ศรัญยู ขามกุล. เครื่องอ่านฉลากยา,ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ;22 เม.ย. 2553.
16. กันทมาลา โภคาพานิช และ วราวุฒิ พระลับรักษา.ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย คุณภาพสูง (Vaja),โครงงาน, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551,หน้า 48 – 59
17. ไพศาล นาคพิพัฒน์. ความหมายและความสำคัญของพลาสติก, สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ;2547(28)
18. ธาริน สิทธิธรรม และ ประชา พฤกษ์ประเสริฐ.Visual Basic 6 ฉบับสมบูรณ์, ซิมพลิฟราย, กรุงเทพฯ;2554.
19 ธัชชัย จำลอง. การสร้างและการจัดตารางมือใหม่ ACCESS 2003 ใช้งานอย่างมือโปร, ซีเอ็ดยูเคชั่น;2549.