การออกแบบและสร้างเครื่องปรับความดันก๊าซชีวภาพสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน
DOI:
https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2017.7คำสำคัญ:
ก๊าซชีวภาพ, เครื่องยนต์, ปรับแรงดันบทคัดย่อ
โครงการนี้เป็นการออกแบบและสร้างอุปกรณ์ปรับแรงดันก๊าซชีวภาพ เพื่อจ่ายให้กับเครื่องยนต์ก๊าซชีวภาพให้มีความดันก๊าซคงที่ ทำให้ส่วนผสมอากาศกับเชื้อเพลิงคงที่ด้วย โดยอุปกรณ์ปรับแรงดันก๊าซชีวภาพดัดแปลงใช้ไดอะแฟรม ของหม้อต้มก๊าซเอลพีจี ยี่ห้อ LO GAS รุ่น SUPER ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 125 มิลลิเมตร ปรับความดันก๊าซจากบ่อก๊าซชีวภาพเป็นแบบโดมคงที่ที่มีความดัน 2.18 ถึง 0.5 เมตรน้ำ ปรับให้เหลือความดัน 0.25 เมตรน้ำ เครื่องยนต์ที่ใช้ทำการทดสอบคือ เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน ยี่ห้อฮอนด้า รุ่น GX120 T1 ขนาด 200 ซีซี. 3.4 แรงม้า ขับเยนเนอเรเตอร์ขนาด 1 กิโลวัตต์ ให้ภาระงานโดยใช้หลอดไฟฟ้า ผลการทดสอบได้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์สูงสุดที่ 12.27 เปอร์เซ็นต์ โหลดทางไฟฟ้า 400 วัตต์ มีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ 7.7 ลิตรต่อนาที เครื่องปรับแรงดันก๊าซชีวภาพสามารถรักษาความดันก๊าซชีวภาพก่อนเข้าเครื่องยนต์ได้ที่ช่วง 0.22 ถึง 0.25 เมตรน้ำ ความดันแตกต่าง 0.03 เมตรน้ำ คิดเป็นคลาดเคลื่อน 12 เปอร์เซ็นต์
Downloads
References
2. Wikipedia. Biogas: Available from: http://th.wikipedia.org/wiki/Biogas[Accessed 10th April 2016].Thai.
3. Mitzlaf KV.(1988). Engine for Biogas. Federal Republic of Germany, Lengericher Handelsdruckerei
4. Chinintron P and Sintipsomboon, K. (2001) Pneumatics industry. Bongkok: SE-Education, Thailand.
5. Pirunkaset M. (2011). Fluid mechanics. Withayapat, Bangkok, Thailland.
6. Pirunkaset M.(2001). Internal Combustion Engines. SE-Education, Bangkok, Thailand.
7. Suetrong A. (2001). Auto Data 2. 3th ed, Peang22-jatujak, Bongkok, Thailand.