การผลิตและการประเมินศักยภาพของหญ้าเนเปียร์อัดเม็ดโดยใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นตัวประสาน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับเครื่องผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบบไหลลง

ผู้แต่ง

  • รัศมี สิทธิขันแก้ว วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • พีระพงษ์ ยืนยงชัยวัฒน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • วรานนท์ อินต๊ะธรรม ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานสู่ชุมชน, สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • รวิภา ยงประยูร สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2017.6

คำสำคัญ:

การอัดเม็ด, ชีวมวล, น้ำหมักชีวภาพ, หญ้าเนเปียร์, เครื่องผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบบไหลลง

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอกระบวนการผลิตหญ้าเนเปียร์อัดเม็ดโดยใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นตัวประสาน(อัตราส่วนหญ้าเนเปียร์ต่อน้ำหมักชีวภาพ เท่ากับ 10: 4 โดยน้ำหนัก) โดยใช้เครื่องอัดเม็ดแบบ flat die ซึ่งจะทำให้ได้หญ้าเนเปียร์อัดเม็ดที่มีค่าความหนาแน่นรวมเฉลี่ย 657 kg/m3 และมีค่าความร้อนสูงเฉลี่ย 18.10 MJ/kg นอกจากนั้นหญ้าเนเปียร์อัดเม็ดที่ผลิตได้น้ำหนัก 12 kg จะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับเครื่องผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบบไหลลงรุ่นสุดพลัง ซึ่งจะได้ก๊าซเชื้อเพลิงที่มีองค์ประกอบของก๊าซ H2 10.96 % v/v ก๊าซ CH4 10.74 % v/v และก๊าซ CO 3.64 % v/v ซึ่งจะมีการทดสอบศักยภาพของก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับเตาแก๊สหุงต้มเพื่อผลิตพลังงานความร้อน พลังงานความร้อนที่ผลิตได้ (10,699 kJ) สามารถต้มน้ำที่มีน้ำหนัก 30.0 kg ให้เดือดและกลายเป็นไอได้ นอกจากนี้ก๊าซเชื้อเพลิงที่ผลิตได้สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถที่จะผลิตไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความต่างศักย์ 220 โวลต์ เป็นระยะเวลานาน 22 นาที โดยผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องและสามารถดึงกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ไปจ่ายให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 100 – 1100 W ได้ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เท่ากับ 45.94 kW·h

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. ไกรลาศ เขียวทอง. คู่มือการปลูกหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1.Available from: http://extension.dld.go.th/th1/images/stories/cattle_buff_bord/napiagrass.pdf[Accessed 4th February 2017].
2. เบญจมาภรณ์ ถนอมปิ่น. การประเมินวัฏจักรชีวิตของหญ้าเนเปียร์สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2557.
3. ชนาภา วรรณศรี. การประเมินวัฏจักรชีวิตและต้นทุนของการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก๊สซิฟิเคชั่นของไม้โตเร็ว.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
4. วรนุช แจ้งสว่าง. เทคโนโลยีการผลิตแก๊สเชื้อเพลิงจากชีวมวล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น; 2556.
5. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. คู่มือการพัฒนาและการลงทุนผลิตพลังงานทดแทนชุดที่ 4 พลังงานชีวมวล. Available from: http://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=774&filename=index/ [Accessed 4th February 2017].
6. วิไลพร ลักษมีวาณิชย์, กาญจนา สิริกุลรัตน์ และณัฐธนัญา บุญถึง. พฤติกรรมการยอมรับถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดผสมกะลามะพร้าวของชุมชนตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-01

How to Cite

สิทธิขันแก้ว ร., ยืนยงชัยวัฒน์ พ., อินต๊ะธรรม ว., & ยงประยูร ร. (2017). การผลิตและการประเมินศักยภาพของหญ้าเนเปียร์อัดเม็ดโดยใช้น้ำหมักชีวภาพเป็นตัวประสาน เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลสำหรับเครื่องผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบบไหลลง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2(1), 46–54. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2017.6