การผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ในการผลิตข้าวหลาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2017.1คำสำคัญ:
เชื้อเพลิงถ่านอัดแท่ง, ตัวประสาน, กะลามะพร้าว, ไม้ไผ่, ค่าพลังงานความร้อนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ในการผลิตข้าวหลาม ในการดำเนินงานวิจัยจะนำเศษวัสดุประกอบไปด้วยกะลามะพร้าวและไม้ไผ่มาเผาเป็นถ่านและผ่านการบดให้ได้เป็นผงถ่าน จากนั้นนำมาหาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมและใช้แป้งมัน*0.5*กิโลกรัมผสมน้ำ 3*ลิตร เป็นตัวประสาน การดำเนินงานวิจัยจะกำหนดส่วนผสมออกเป็น 11 สูตร นำผงถ่านที่ผ่านการผสมมาอัดขึ้นรูปด้วยเครื่องแบบเกลียวอัดผ่านแม่พิมพ์รูปทรงห้าเหลี่ยม นำแท่งถ่านไปอบลดความชื้นไม่เกิน*8 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 238/2547) จากนั้นนำไปทดลองหาประสิทธิภาพทางความร้อนโดยทำการทดลองหาค่าความชื้น ปริมาณเถ้า ค่าพลังงานความร้อน การรับแรงกดอัดและปริมาณการสิ้นเปลืองในการต้มน้ำ 3 ลิตร ให้เดือดที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ผลจากการวิจัยพบว่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือใช้ในการผลิตข้าวหลามคือสูตรที่*3*โดยมีส่วนผสมของผงถ่านกะลามะพร้าว*8.55 กิโลกรัมต่อผงถ่านไม้ไผ่ 0.95 กิโลกรัม โดยมีค่าความชื้นที่ 6.07 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณเถ้าที่ 10.42 เปอร์เซ็นต์ มีค่าพลังงานความร้อนที่ 5,748.83*กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม สามารถรับแรงกดอัดที่ 892.530*นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร และมีปริมาณการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในการต้มน้ำเดือดที่ 80 องศาเซลเซียส เป็นปริมาณ 1.917 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ความสำคัญของงานวิจัยนี้คือการลดของเสียในการผผลิตข้าวหลาม ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยนี้คือสามารถนำเศษของเสียที่เหลือใช้ในการผลิตข้าวหลามกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงานเชื้อเพลิงและพลังงานทดแทน
Downloads
References
2. วิไลพร ลักษมีวาณิชย์, กาญจนา สิริกุลรัตน์และณัฐธนัญา บุญถึง.(2554). พฤติกรรมการยอมรับถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพดผสมกะลามะพร้าวของชุมชนตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยการทนทานแรงกดอัด (Compressive Strength) ของถ่านอัดแท่ง.สาขาวิชาฟิสิกส์, ภาควิชาวิทยาศาสตร์, คณะวิมยาศาสตร์และเทคโนโลยี,มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
3. ดร.กิตติพงษ์ ลาลุน, ผศ.ดร.สมโภชน์ สุดาจันทร์และผศ.ดร.ชัยยันต์ จันทร์ศิริ.(2555) การผลิตถ่านอัดแท่งจากผงถ่านวัสดุชีวมวล*3 ชนิดด้วยชุดเกลียวอัดถ่านอัดแท่ง. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร, คณะวิศวกรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4. อุกฤษฏ์ โซ่ศรี. (2554). เทคโนโลยีถ่านอัดแท่ง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.
5. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, กระทรวงพลังงาน, [Online], Available: http: //www.dede.go.th/dede/index.php?option=com_content&view=article&id=130%3A2010-05-07-08-10-57&catid=58&Itemid=68&lang=th, 2552.
6. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก, [Online],Available:http://www.dede.go.th /dede/images/stories/aedp25.pdf, 2555-2564.
7. ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพลังงาน ฝ่ายวิจัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, [Online], Available: http://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/hot.php.
8. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)เลขที่ 238/2547 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับเชื้อเพลิงถ่านอัดแท่ง [Online] http://tcps.tisi.go.th/pub%5Ctcps238_47.pdf