การสร้างเครื่องกะเทาะข้าวโพด ให้กับชุมชนบ้านป่าแดงใต้ ต.ตลุกกลางทุ่ง อ.เมือง จ.ตาก

ผู้แต่ง

  • ภาคภูมิ ใจชมภู หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • ไพฑูรย์ อุดมเกตุ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • นรุตม์ คล้ายเคลื่อน หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • จิรวัฒน์ วรวิชัย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
  • จุมพล ชัยประเดิมศักดิ์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

DOI:

https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2017.11

คำสำคัญ:

ข้าวโพดพันธุ์แปซิฟิก339, เครื่องกะเทาะข้าวโพด, สิ่งปนเปื้อนในเมล็ดข้าวโพด

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ การสร้างเครื่องกะเทาะข้าวโพด ให้กับชุมชนบ้านป่าแดงใต้ ต.ตลุกกลางทุ่ง  อ.เมือง  จ.ตาก จะแยกเป็นสองส่วนที่สำคัญ ส่วนที่หนึ่ง คือ เป็นส่วนกะเทาะเมล็ดข้าวโพด ลูกกะเทาะหมุนพาฝักข้าวโพดขูดกับผนังตะแกรงกะเทาะทำให้เมล็ดข้าวโพดหลุดออกจากแกนข้าวโพด  แล้วผ่านตะแกรงล่อนเมล็ดข้าวโพด  ส่วนที่สอง คือ ส่วนระบบส่งกำลังใช้มอเตอร์ 2 แรงม้า มีความเร็วรอบ 1,450 รอบต่อนาที โดยส่งกำลังผ่านสายพานแบบร่องวี

ผลการทดสอบเครื่องกะเทาะข้าวโพด โดยใช้ข้าวโพดพันธุ์ “แปซิฟิก 339” ที่ช่วงความชื้นร้อยละ 15 จากการเปรียบเทียบความเร็วรอบกับน้ำหนักเมล็ดข้าวโพดที่กะเทาะออกจากแกน ที่ความเร็วรอบ 720, 540 และ 360 รอบต่อนาที ความเร็วรอบที่ดีที่สุด คือ 360 รอบต่อนาที ป้อนข้าวโพดจำนวน 20 กิโลกรัม โดยใช้เวลาเฉลี่ยที่ 30.74 วินาที ได้ปริมาณเมล็ดข้าวโพด  85.80 เปอร์เซ็นต์ ได้เมล็ดที่ปนมาจากช่องทางออกของแกน 0.7 เปอร์เซ็นต์ ได้แกนข้าวโพดที่สมบูรณ์ 83.34 เปอร์เซ็นต์ ได้แกนข้าวโพดที่ไม่สมบูรณ์ 8.51 เปอร์เซ็นต์ ได้ฝุ่นผงและเมล็ดที่แตกเฉลี่ย 8.14 เปอร์เซ็นต์ เครื่องสามารถกะเทาะเมล็ดข้าวโพดได้ไม่น้อยกว่า 1,500 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจในเรื่องลักษณะของเครื่อง เหมาะสมกับการใช้งานในชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.93 ส่วนข้อที่มีสิ่งปนเปื้อนในเมล็ดข้าวโพดมีปริมาณน้อยมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.37 โดยมีค่าเฉลี่ยภาพรวมของเครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพด อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.51

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Poypanitjalean K., Statistics for engineering. 4thed. Bangkok ; 1999.thai
2. Mongkolthanarat J., Research and Develop corn crackers. Department of Agriculture, Department of Agriculture. Bangkok ; 1991.thai
3. Takamwang J., Teaching materials in economics Engineering. Rajamangala University of Technology Lanna Tak. Tak
4. Sonnin B., Tabellenbuch Metall. Institute of Technology King Mongkut's University of North Bangkok. Bangkok ; 1981.thai.
5. PBN Automation. Type and material of conveyor belt. Available form :http://thknowledge.blogspot.com/ iEnergy Guru./ [Accessed 25th March 2015.]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-01

How to Cite

ใจชมภู ภ., อุดมเกตุ ไ., คล้ายเคลื่อน น., วรวิชัย จ., & ชัยประเดิมศักดิ์ จ. (2017). การสร้างเครื่องกะเทาะข้าวโพด ให้กับชุมชนบ้านป่าแดงใต้ ต.ตลุกกลางทุ่ง อ.เมือง จ.ตาก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2(2), 37–42. https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2017.11