ผลของปริมาณแมกนีเซียมที่มีต่อรูปร่างกราไฟต์และสมบัติทางกลของเหล็กหล่อเหนียว
DOI:
https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2018.6บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปริมาณแมกนีเซียมที่มีต่อรูปร่างกราไฟต์และสมบัติทางกลของเหล็กหล่อเหนียวที่ผลิตให้มีประกอบอื่นทางเคมีคือคาร์บอน 3.0-4.0% และซิลิกอน 1.8-2.9% ด้วยเตาหลอมโลหะแบบไฟฟ้ากระแสเหนี่ยวนำ ทำอินนอคคูเลชัน 0.30% โดยน้ำหนัก พร้อมกับเติม FeSi Mg 4.5-5.1% (แมกนีเซียมทรีทเมนต์)ในปริมาณที่แตกต่างกัน 3 ระดับ คือ 0.5, 1.0 และ 1.5% โดยน้ำหนัก ในเบ้าผสมแบบแซนวิชโปรเซสที่อุณหภูมิ 1450 °C แล้วตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคและวัดสมบัติทางกล พบว่าการเติมแมกนีเซียม 1.0% โดยน้ำหนัก ทำให้เหล็กหล่อเหนียวเกิดกราไฟต์โครงสร้างกลมซึ่งมีสมบัติทางกลดีที่สุด โดยมีค่าความเค้นแรงดึงสูงสุด 782 MPa, ความเค้นจุดคราก 578 MPa, เปอร์เซ็นต์การยืดตัว 16% และความแข็ง 85 HB
Downloads
References
2. ศักดิ์สิทธิ์ โรจน์ฤทธากร และประมูล บัวน้อย, 2555. “อิทธิพลของปริมาณอนุภาคแกรไฟต์ที่มีผลต่อโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกลของเหล็กหล่อแกรไฟต์กลมในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์”, วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 8, 2: (พฤษภาคม – สิงหาคม)
3. สมนึก วัฒนศรียกุล, 2538, เหล็กหล่อกราไฟต์กลม. โลหะวิทยา Metallurgy
4. D. SHENG and C. Shao-chun, 2006. “Critical Content of MgO in Spheroidisers.” Journal of Iron and Steel Research, International. 13(1):1-4.
5. Haycock, Meghan, 2011. Effects of silicon content and cooling rate on mechanical properties of heavy section ductile cast iron. Master's Thesis, Michigan Technological University of the western North Atlantic. U.S. Dept. of Commerce. Report number: 63, 2001