การพัฒนาแว่นตาแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับนักเรียนผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็น
DOI:
https://doi.org/10.14456/rmutlengj.2018.15คำสำคัญ:
การวัดระยะทาง, ระบบเสียง, ผู้บกพร่องทางการมองเห็น, แว่นตาแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้สามารถช่วยส่งเสริมด้านการปรับปรุงคุณภาพชีวิตสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น โดยแจ้งเตือนเป็นเสียงพูดได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นงานที่มุ่งพัฒนาปรับปรุงอัลกอริทึมด้านประมวลผลเสียงให้เข้าใกล้ real time มีการทดสอบความแม่นยำการวัดระยะทางที่สัมพันธ์กับมุมด้านหน้าของ ultrasonic sensor และการสะท้อนคลื่น ultrasonic ที่ไปตกกระทบกับวัตถุ 5 ชนิด คือ ฟองน้ำ กระจก ไม้ เหล็ก และขวดน้ำพลาสติก ผลทดสอบมี 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งจะทดสอบวัดระยะทางกับ 5 วัตถุ ผลลัพธ์ คือ เฉพาะฟองน้ำที่ไม่ตอบสนองต่อ ultrasonic ส่วน 4 วัตถุที่เหลือจะสะท้อนคลื่นกลับ ซึ่งผลความแม่นยำระยะทางสะท้อนคลื่นจากแต่ละวัตถุ ทำให้ต้องคำนึงถึงกลไกการออกแบบระบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้สวมใส่แว่น ผลทดสอบที่สองเป็นแบบสอบถามการทดสอบที่ถูกประเมินจากคนสายตาปกติและผู้บกพร่องทางการมองเห็น แบบสอบถามมี 6 ประเด็นในด้านความปลอดภัย ด้านการออกแบบฮาร์ดแวร์ ด้านความแม่นยำการวัดระยะทาง ด้านแจ้งเตือนด้วยเสียงเร็วขึ้น ด้านราคา และด้านสะดวกคล่องตัวกรณีสวม ซึ่งผลลัพธ์การประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
Downloads
References
2.ยุพดี หัตถสิน ณัฐพงศ์ ชุ่มแสง และศุภชัย ยุ้งแก้ว. 2557. แว่นตาแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้บกพร่องทางสายตา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ EENET 2014, กระบี่, 4 หน้า.
3.ยุพดี หัตถสิน ณัฐวัฒน์ พยาราษฎร์ ชาญณรงค์ ธรรมเสนา และสิริพงษ์ มาทาเม. 2558. การทดสอบระบบตรวจจับเพื่อความปลอดภัยสำหรับแว่นตาแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางเพื่อผู้บกพร่องทางสายตา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ EENET 2015, ชลบุรี, หน้า 85-88.
4.ยุพดี หัตถสิน ณัฐวัฒน์ พยาราษฎร์ และชาญณรงค์ ธรรมเสนา. 2558. พัฒนาระบบเสียงและการทดสอบระบบตรวจจับวัตถุในโครงการแว่นตาแจ้งเตือนสิ่งกีดขวางสำหรับผู้บกพร่องทางสายตา.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ NCCIT 2015, กรุงเทพฯ., หน้า 553-558
5.สิทธิชัย จันทพิมพะ และมนู กวางแก้ว. 2553. ไม้เท้าพูดได้สำหรับผู้มีความบกพร่องทางสายตา. วารสารการไฟฟ้าและระบบควบคุม 9(52): 35–36.