รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

เบญจวรรณ สุจริต
ชัชชัย สุจริต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของตำบลนางพญา อำเภอ     ท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ และ (2) สร้างรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นักท่องเที่ยว ประชาชนในตำบลนางพญา ผู้นำชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเทศบาลอำเภอท่าปลา นักวิชาการด้านการบริหารจัดการ นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา  ผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่าครบทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ พื้นที่ ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการจัดการ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านความมีชื่อเสียง ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลนางพญา อำเภอ      ท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ การมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชน การสนับสนุนและส่งเสริมในการพัฒนาการท่องเที่ยวจากสถาบันการศึกษา การพัฒนาผู้นำและคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายของแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดและในจังหวัดใกล้เคียง และการประเมินผลการดำเนินงานกลุ่มโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


คำสำคัญ :  รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน


Abstract


           The purposes of this research were to study the potential of tourism source of Nangpaya district, Tha Pla, Uttaradit province, and to create the tourism management model by community of Nangpaya district, Tapla, Uttaradit province.  This was qualitative research.  The instrument of this research was structured interview and focused group.  The key informants were tourist, people in Nangpaya district, community leader in Local Administration and Tha Pla municipality, administrative academic persons, and tourism academic persons. The potential of tourism source of Nangpaya district, Tha Pla, Uttaradit 


province was found that were 8 aspects: a convenient way to access, facility, management, environment, well-known, tourism activity, and community participation. A tourism management model by community of Nangpaya district, Tapla, Uttaradit province was found that the participation of community and government sector, supportive and promoting in tourism development from educational institutions, developing continuously on leader and people in the community, creating a network of tourism source within the province and nearby, the evaluation of the implementation group by participating of all parties involved.  


Key words:     tourism management model  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เชาวลิต สิทธิฤทธิ์ และคณะ (2545). การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมตำบลกรุงชิง
จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พรชัย เพียรพล. (2559). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเหล่าใน
พื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ
อุตรดิตถ์.

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). กลวิธี แนวทาง วิธีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา.

ภาวิดา รังสี (2550. ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการจัดกิจกรรมการ
ท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ กรณีศึกษาบ้านแม่กำปอง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง
และการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุวดี นิรัตน์ตระกูล. (2555). แนวโน้ม โอกาส กลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวในอาเซียน. กองวิจัยตลาดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

วชิรญาณ์ วีรประพันธ์. (2551). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิภา ศรีระทุ. (2551).ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์.
สารนิพนธ์ วท.ม.กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2544). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. นนทบุรี : สถาบัน
พระปกเกล้า.

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรการ
ท่องเที่ยวของไทยสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 286. นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.