การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

อังกาบ บุญสูง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องเรื่อง การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายชุมชนหัตถกรรมจักสาน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายชุมชนหัตถกรรมจักสาน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการวิจัยศึกษาบริบทชุมชน ศึกษาบริบทผลิตภัณฑ์ และจัดการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) การวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มข้อมูล (SWOT Analysis) กระทำการสัมภาษณ์ การสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis)และสังเคราะห์เนื้อหา (Content Synthesis) การวิจัยนี้ทำการศึกษาชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มจักสานหมวกนาอิน และกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเต่าไหเหนือ อำเภอพิชัย กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานผักตบชวาทุ่งเศรษฐี อำเภอเมือง และกลุ่มจักสานหมวกไม้ไผ่ อำเภอน้ำปาด

 ผลจากการวิจัย พบว่า ศักยภาพของชุมชนหัตถกรรมจักสานในจังหวัดอุตรดิตถ์มีหลายด้าน ได้แก่  (1) ทุนทางวัฒนธรรมอันเกิดมาจากภูมิปัญญาด้านการจักสาน  (2) ทุนทางสังคมด้านการรวมกลุ่มของคนในชุมชน และ (3) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งสมาชิกชุมชนนำศักยภาพของตนมาบูรณาการรวมกันก่อให้เกิด“เครือข่ายชุมชนหัตถกรรมจักสาน”ความสามารถที่จะพัฒนากลุ่มจะให้มีความเข้มแข็งได้อย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องมีองค์ประกอบดังนี้ มีแกนนำที่เข้มแข็ง  มีเป้าหมายที่ชัดเจน  เคารพกฎระเบียบ  การเรียนรู้ร่วมกัน  การแบ่งปันทรัพยากร การทำกิจกรรมร่วมกัน ความรู้สึกเป็นพี่น้อง  ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน  และจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกัน มีความเข้าใจและเอื้ออาทรกัน จึงก่อให้เกิด “เครือข่ายชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์” จำนวน 4 เครือข่าย ที่เป็นไปตามความต้องการของสมาชิกได้แก่ เครือข่ายจัดซื้อวัตถุดิบ เครือข่ายข้อมูลข่าวสาร เครือข่ายการเรียนรู้ และเครือข่ายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้เกิดการยกระดับขีดความ สามารถของชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์  

A Study of Community Basketry Crafts Networking

Communitiesin Uttaradit.

This research is Participatory Action Research to study network of Community Basketry Crafts in Uttaradit. using Focus Group to Collect data by interviews and observation for SWOT analysis. This research focused on 4 Group. Housewife group of  Basketry group hats Na In; Housewife group of The farmers Tao Hi Nuea; Products group Water hyacinth of Thong Sag Te; and Basketry group hats Bamboo of Nam Pad.

The results of the study showed that there are three potentials of  community enterprise in local basketry of Uttaradit: a cultural capital from wisdom of weaving society; a society capital from community in the area; and a natural capital from biodiversity. The member in their groups integrated their potentials to establish basketry crafts community enterprise. The conditions which encourage their group to be strong are having a good  leader, having clear targets, respecting in rules, learning and working together, sharing resources, feeling as a neighborhood, and trusting in member group.

          After all group worked together, they had a good relationship to share their knowledge and resources to have networks of Basketry Crafts community enterprise group in Uttaradit. There were four networks to contribute their works; learning  network; and product distributive network. All networks enhanced the potential of local textile enterprises in Uttaradit.


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุญสูง อ. (2017). การศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 417–432. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/77136
บท
บทความวิจัย
Author Biography

อังกาบ บุญสูง, สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

-

References

-