ปัจจัยการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนชาวจีน

Main Article Content

แสน กีรตินวนันท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนโบ๊เบ๊ ในมิติทางด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเช่นการสัมภาษณ์ การมีส่วนรวมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน ตลอดจนการศึกษาข้อมูลเอกสารชั้นต้นและชั้นรอง เป็นต้น ผ่านแนวคิดเช่นแนวคิดทุนทางสังคม แนวคิดสวัสดิการชุมชน ซึ่งกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาคือ พื้นที่บริเวณชุมชนโบ๊เบ๊ตลาดเก่า ตรอกธรรมา

          ผลการวิจัยพบว่า ชาวจีนภายในชุมชนโบ๊เบ๊ได้อาศัยทุนทางสังคมบนอัตลักษณ์ความเป็นจีน 2 ประเภท ได้แก่ อัตลักษณ์ความเป็นจีนของชาวจีนทั้งหมดและอัตลักษณ์ความเป็นจีนแต้จิ๋ว       เช่น การรวมกลุ่ม ความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้นำ ความไว้วางใจระหว่างสมาชิกชาวจีน วัฒนธรรมประเพณีของชาวจีน เป็นต้น เป็นแนวคิดสำคัญในการสร้างกลไกของชุมชนผ่านกลุ่มเครือญาติ ระบบศาลเจ้าปึงเถ่ากงหรือสมาคมชาวโบ๊เบ๊ เพื่อบริหารชุมชนและสมาชิกชุมชน จนภายในชุมชนเกิดความเข้มแข็งขึ้นมาในมิติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จนกล่าวได้ว่าชาวจีนภายในชุมชนโบ๊เบ๊ได้ประยุกต์ทุนทางสังคมบน       อัตลักษณ์ความเป็นจีน สร้างกลไกต่างๆ ภายในชุมชน อันถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนชาวจีนโบ๊เบ๊แห่งนี้

The Factors of the Strengthen Chinese Community

The objective of this research was to investigate the factors of the Strengthen Chinese Community in case of Bobae Community, in dimensions of Social, Cultures, Economics. This study was qualitative research by Interview, Participation, Documentary through conceptual of Social Capital, Social Welfare, which specify scope of the study area was Old Bobae market, nearby Thamma alley. The world usually done and Chaozhou Identity,For example, Gathering, Leadership, Trust, etc, to create the mechanism of this community. Which Chinese he fact findings indicate that Chinese in Bobae Community applied Social Capital on Chinese Identity, liked Chinese Identity whom everyone is Chinese around  Identity and the mechanism of community are the important factors to strengthen the Bobae Community from the past until the present.


Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

แสน กีรตินวนันท์, มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

-

References

-