รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ช ของผู้นำทางการพยาบาล และ 3) ประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำทางการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ปลายเปิด ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ช ของผู้นำทางการพยาบาล ด้วยการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t –test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทักษะการโค้ชที่สำคัญสำหรับกระบวนการโค้ช ของผู้นำทางการพยาบาล ประกอบด้วย1) การตั้งคำถามที่ดีและมีพลัง 2) การรับฟังอย่างตั้งใจ 3) การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก 4) การจูงใจและให้กำลังใจ และ5) การกำหนดเป้าหมายของผู้รับการโค้ช
2. รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ช ของผู้นำทางการพยาบาล เขียนเป็นคู่มือที่ประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ 5 ประการข้างต้น ซึ่งมุ่งการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะการโค้ชได้จริง และการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม สม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดทักษะการโค้ช ของผู้นำทางการพยาบาล อย่างยั่งยืน
3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้นำทางการพยาบาลเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการบริหารงาน สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงร่วมกับการเป็นพยาบาลพี่เลี้ยง ส่งผลกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และพัฒนาผลการปฏิบัติงานของพยาบาล รวมถึงทำให้สัมพันธภาพระหว่างทีมการพยาบาลขณะปฏิบัติงานดีขึ้น
ทักษะการโค้ชที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม สามารถดึงศักยภาพภายในตัวบุคคลทั้งของตัวโค้ชเองและผู้ที่ได้รับการโค้ชออกมาได้จริง โดยทำให้บุคคลที่ได้รับการโค้ชนั้นได้คิดและค้นหาทางออกของปัญหาด้วยตัวของเขาเอง
A Developement of Coaching skills model for nurse leaders
The purposes of this research were to 1) investigate essential coaching skills of nurse leaders, 2) develop a training model of coaching skills for nurse leaders, and 3) evaluate the results of the training model. The sample, obtained by simple random sampling, included 30 nurse leaders in Chachoengsao Province. The study was centered on research and development. The tools for data collection were open ended interviews and group discussions with 30 participants. The statistics applied for data analysis consisted of percentage, means, standard deviation, and t-test.
The research results were as follows:
1) The essential coaching skills for nurse leaders were comprised of 5 elements i.e. (1) powerful questions (2) active listening (3) positive feedback (4) motivation and inspiration and 5) goal setting.
2) The model for the development of coaching skills for nurse leaders was written as a hand book. It was comprised of the 5 elements mentioned earlier. The model aimed to develop a body of knowledge, practical coaching skills, and concrete and sustainable application.
3) The findings revealed that the nurse leaders were satisfied with the training model because it was beneficial to their management when applied together with mentoring, and thus brought about the improvement of behavior, job performance,and relationships among the nurses.
Efficient and appropriate coaching skills can help bring out the capacity of not only a coach but also the person being coached, while enabling the latter to search for a solution by himself- or herself later.
Downloads
Article Details
References
-