การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุดาพร คมทะวง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวง    พระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง 2) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง 3) พัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง และ 4) ทดลองใช้รูปแบบและประเมินรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวแขวงหลวงพระบาง กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มประชาชนในแขวงหลวงพระบางและกลุ่มข้าราชการในหน่วยงานรัฐแขวงหลวงพระบางที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 

         ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1. ผลการศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบางภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  2. ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง ตามกรอบการจัดการ 4 M’s พบว่า (1)  สภาพปัจจุบัน ด้านบุคลากรมีความเหมาะสม ทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ด้านงบประมาณรายได้นำส่งรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด  ด้านวัสดุ อุปกรณ์มีความพร้อม ด้านวิธีการจัดการส่วนใหญ่รัฐบาลเป็นผู้ดูแลทุกอย่างและพัฒนาสิ่งอำนวย (2) ปัญหาการจัดการท่องเที่ยว ด้านบุคลากรขาดความรู้และทักษะ  ด้านงบประมาณไม่เพียงพอกับการพัฒนา  ด้านวัสดุ อุปกรณ์ ป้ายบอกทาง เครื่องมือยังไม่ชัดเจนและไม่เพียงพอ  ด้านวิธีดำเนินการยังขาดการดำเนินงานที่เป็นระบบ  ความต้องการในการจัดการท่องเที่ยว ด้านบุคลากรต้องการให้มีการจัดสรรบุคคลากรให้มีจำนวนเหมาะสม ด้านงบประมาณต้องการให้รัฐสนับสนุนอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว  ด้านวัสดุอุปกรณ์ ต้องการทำป้ายแนะนำและสื่อสิ่งพิมพ์ที่หลากหลายภาษา  ด้านวิธีดำเนินการต้องการให้มีการติดตามเก็บข้อมูลเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  

3. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง มี 4 รูปแบบคือ  1) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวด้านบุคลากรมี 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมการอบรมมัคคุเทศก์ระดับชาติ กิจกรรมอบรมปลูกจิตสำนึกด้านการท่องเที่ยวและการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้แก่ชุมชน กิจกรรมการอบรมจรรยาบรรณในการขายของใส่บาตร 2) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวด้านงบประมาณมี 2 กิจกรรม คือ  กิจกรรมปรับปรุงระบบการขายบัตรเข้าชมแหล่งท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ และ กิจกรรมผลิตเสื้อสัญลักษณ์โฆษณาการท่องเที่ยว 3) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวด้านวัสดุอุปกรณ์ มี 5 กิจกรรม คือ กิจกรรมปรับปรุงเว็บไซต์ โฆษณาการท่องเที่ยว กิจกรรมผลิตสิ่งโฆษณาเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านการท่องเที่ยว กิจกรรมผลิต VCD, DVD สปอร์ตโฆษณาการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี กิจกรรมจัดทำป้ายบอกเส้นทางท่องเที่ยว ป้ายแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมและ กิจกรรมจัดทำป้ายเรื่องราว (Story) ประวัติแหล่งท่องเที่ยวและแผนที่ในแหล่งท่องเที่ยวพระธาตุภูสี และ 4) รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวด้านวิธีดำเนินการมี 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีใส่บาตรข้าวเหนียว และ กิจกรรมจัดระเบียบผู้ขายของใส่บาตรข้าวเหนียว 

A development of cultural tourism management model in

Luang Praban Province, Lao PDR

The purpose of this research was to (1) study potentials of cultural tourism in Luang Prabang, (2) study the condition, problems and need of cultural tourism management in Luang Prabang province, (3) develop a model of cultural tourism management in Luang Prabang province and (4) analyze and evaluate models of cultural tourism management in Luang Prabang province in Lao People’s Democratic Republic. The results of the study were revealed as follows: 1) Potentials of cultural tourism in Luang Prabang consisting of attraction, accessibility, amenity, accommodation, available package and ancillary service (6 A’s) were rated as medium. 2) Condition, problem and need of cultural tourism management in Luang Prabang province in a management framework of man, money, material and management (4M’s) found that (1) the current condition of man was suitable for education qualification and sufficient seniority, had an ability to work efficiently, (2) the current condition of money collected from entrance fee of tourist sites were given to the government, (3) the current condition of material were sufficient and (4) the current condition of management was looked after by the government and also developed all tourism facilities. The identified problems of cultural tourism management were that (1) human resources (man) lacked of knowledge and skills, (2) the money received was not allocated for development, (3) the material for tourism promotion and directional signage were unclear and insufficient and (4) the management lacked of operation systems. The identified need of cultural tourism management were that (1) manpower should be designated and human resources should be aligned with tourism services demand, (2) the government should provide a sufficient budget in supporting tourism, (3) sign boards and tourism marketing tools should be interpreted in multiple languages and (4) tourism research should be conducted for a future improvement of tourism management. 3) This research was found that four cultural tourism management forms in Luang Prabang province were as of man, money, material and management. 4) The results of the analysis and evaluation of cultural tourism management models/forms in Luang Prabang province leaded to some activities that were implemented within four months: (1) three activities of human resources tourism management were carried out such as training for national tour guides, training on public awareness and being a good host; and training on ethics for small entrepreneurs who were selling food and snacks for alms giving. (2)There were two activities in money tourism management forms carried out such as the improvement of tourist entrance fees at the national museum by using a barcode system and producing t-shirts for sale as well as tourism marketing. (3) Five activities in material tourism management forms were implemented which were improving the Luang Prabang tourism website, producing tourism marketing materials for creating tourism public awareness such as t-shirts and cotton bags, producing a short VCD, DVD for tourism marketing and promotion, installing a direction billboard and information board at a tourist site, installing a sign board of the history of a cultural tourism site, and a map board was located at the bottom of Phousi hill. (4) Two activities in tourism management forms were carried out for instance conservation and promotion of traditional alms giving and coordination of food and snack sellers for alms giving. 


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
คมทะวง ส. (2017). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของแขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 349–366. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/77122
บท
บทความวิจัย

References

-