บทบาทของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถี ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

Main Article Content

ภิชารัตน์ เพ็งหมื่นราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถีบทบาทของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถี ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกกับบทบาทต่อการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของสมาชิกเกี่ยวกับการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถี จำนวน 251 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย

       ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 45 ปี จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือปวส. สถานภาพสมรส มีสมาชิกในครัวเรือน 3 - 4 คน มีรายได้จากกลุ่มเฉลี่ย 7,203 บาทต่อเดือน มีรายได้อื่นๆ เฉลี่ย 8,027 บาทต่อเดือน มีรายได้รวมเฉลี่ย15,229 บาทต่อเดือน ได้รับเงินปันผลจากหุ้นเฉลี่ย 1,248 บาทต่อปี มีหนี้สินเฉลี่ย 51,729 บาทส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถีมากกว่าหรือเท่ากับ 7 ปี ส่วนใหญ่มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ และไปศึกษาดูงานด้านวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 3 ครั้งต่อปี มีการประชุมกลุ่ม 2 ครั้งต่อเดือน และได้รับข่าวสารด้านวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 10 ครั้งต่อปี โดยมีการรับรู้ข่าวสารผ่านทางหนังสือพิมพ์มากที่สุดจากการศึกษาบทบาทของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถี โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ( = 3.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดการองค์กร ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความยั่งยืนอยู่ในระดับมาก ส่วนในด้านการเงินอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
ชีววิถีทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig.<0.05) ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือการควบคุมสินค้าในคลัง ขาดเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ปัญหาด้านการระดมทุนและการขยายตลาด รวมทั้งขาดการศึกษาวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆควรจัดกิจกรรมส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนในช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ สามารถเข้ามาร่วมในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี

Roles of  Members  To  wards Operation of the Bio-Life Community Enterprise Group, Namkiansub-District, Phuphiang District,Nan Province

The objectives of this study were to explore:socio-economic attributes of bio-life community enterprise group members;roles of bio-life community group, members;relationships between socio-economics factors roles of bio-life community enterprise group, members; andproblems encountered and suggestions of bio-life community enterprise group, members. The sample group in this study consisted of 251 numbers of the bio-life community enterprise of Namkian sub-district, Phuphiang district, Nan province. A set of questionnaires was used for date collection and descriptive statistics and multiple regressions were employed.

Findings showed that most of the respondents were female, 45 years old on average, married, and junior degree holders or equivalent. Most of them had 3 - 4 family members an income from the group for 7,203 baths per month and others for 8,027 bath per month or 15,229 bath altogether per month on average. Dividends received from stock average 1,248 baht per year. They had debts for 51,729 baths on average. Most of the respondents had been members of the bio-life community enterprise group for 7 years and above. Most of them were members of various groups and joined educational tours for 3 times per year on average. They perceived news or information about community enterprise for 10 times a month through newspaper most and they attended a meeting of the group twice a month. As a whole, it was found that the respondents had a high level of roles towards the bio-life community enterprise group based on organizational management production marketing, and sustainable community enterprise development whereas finance was found at a moderate level. It was found that there was a significant relationship (sig < 0.05) between roles of the respondents and the following factors: sex, age, an amount of debts, group meeting, and news/information perception.

For problems encountered, the following were found: personnel responsible for goods took the goods without informing which made the goods management system did not conform to the record;some goods were missing;production technology was not uptodate;capital assembly and market expansion. The following were suggestions:it should have the establishment of a committee taking care of systematic organizational management; concerned agencies should promote and support knowledge about group management; andactivities promoting the community during the early of harvest season should be held.


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภิชารัตน์ เพ็งหมื่นราช, สาขาพัฒนาทรัพยากรชนบท มหาวิทยาลัยแม่โจ้

-

References

-