การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับทาง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ภาสกร เรืองรอง
สุพรรษา น้อยนคร
ภรภัทร รัตนเจริญ
อารยา ปู่เกตุแก้ว
วิชิต ชาวะหะ
วัชรพงศ์ แสงอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ประเมินรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับทางเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) นำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญสำหรับตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ จำนวน 9 ท่าน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง 2) นิสิตปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบบันทึกรายการเชิงสังเคราะห์ 2) แบบประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ 3) เครื่องมือที่ประกอบการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม ใบงาน ใบความรู้ แบบทดสอบวัดทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) แบบรับรองรูปแบบฯ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า1) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนฯ อยู่ในระดับดีมาก 2) ผลนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฯอยู่ในระดับดี   

The Development of an Instructional Model Focusing on the Flipped Classroom for Student’s Learning Promotion in the 21 ST Century

The purpose of this research are 1) Evaluate the  instructional model focusing on the flipped classroom for student’s learning promotion in the 21 ST century and 2) propose the instructional model. The samples are select from; 1) purposive sampling of 9 professors in learning structure inspection experts and 2) purposive sampling of 50 undergraduate students from Faculty of Engineering, Srinakharinwirot University. Research Methodologies are as follows: 1) synthesis recording form 2) expert’s quality evaluation form 3) generated learning structure tools: lesson plans, worksheets, the test of computer skills and information and communications technology. 4) The certification form of the instructional model and 5) the questionnaire of the expert to the model and the process of learning activities, statistical analysis, result by using percentage, means, and standard deviation.

The findings were as follows: 1) Evaluation result of learning structure is excellent; and 2) Proposition result of learning structure is good.


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เรืองรอง ภ., น้อยนคร ส., รัตนเจริญ ภ., ปู่เกตุแก้ว อ., ชาวะหะ ว., & แสงอ่อน ว. (2017). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับทาง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 259–270. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/77114
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภาสกร เรืองรอง, ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

-

References

-