การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน : การวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และพัฒนาแผนธุรกิจเกษตรพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (2) เพื่อศึกษาความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและการพัฒนาแผนธุรกิจเกษตรพอเพียง (3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการศึกษาที่ 1/2558 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 99 คน รูปแบบการศึกษาด้วยการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน และหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินการให้คะแนนความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและการพัฒนาแผนธุรกิจ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย() ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและการพัฒนาแผนธุรกิจเกษตรพอเพียง จากจำนวน 8 แผนธุรกิจ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 แผน ( = 4.40, S.D. = .503) ในระดับมาก จำนวน 4 แผน และในระดับปานกลางจำนวน 3 แผน (3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อครูผู้สอน ที่มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.43, S.D. = .390)
Problem-based learning : An Identification of self-sufficiency Business Plan
The purpose of this research
- To compare the academic achievement of students about the principles of business plan by using problems – based learning.
To study the ability of students on an identification of self – sufficiency business plan by using problems – Based Learning.
- To study the satisfaction level of students by using problem – based learning.
The samples in this study were students who enrolled in business management for small and medium enterprises, Semester 1/2558, by Purposive Sampling of 99 students.
Study design: One – Group Pretest Posttest Design. The tool assembly of the pre – test, and post – test was 1 series of 20 points. The evaluation of the ability to identification of self – sufficiency business plan and satisfaction of the students and the Lesson Plan for Problem-based learning. Data were analyzed by using frequency, percentage (%), mean (), standard deviation (S.D.), t-test (t – test for dependent samples), and content analysis.
The results of this research:
1. After the samples through the learning achievement than before the study was significant at the 0.05 levels.
2. The samples have the ability on an identification of self – sufficiency business plan by using problems – based learning which reached to 8 business plans. It was found that ability of student on an identification of self – sufficiency business plan at the highest level in one business plan ( = 4.40, S.D. = 0.503) , at a high level of four business plans, and in the middle of three business plans.
3. The samples were satisfied with the process of learning in overall satisfaction scores are the highest. It is found that the samples were satisfied with the teachers, the average score of satisfaction is very good level ( = 4.43, S.D. = .390).
Downloads
Article Details
References
-