ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ไพบูลย์ พันธุวงศ์
จักรพงษ์ พวงงามชื่น
นคเรศ รังควัต
สายสกุล ฟองมูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทชุมชน ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลเศรษฐกิจสังคม การมีส่วนร่วมและการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบล     สะลวง 2) ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตำบลสะลวง 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา สมาชิกวิสาหกิจชุมชนตำบลสะลวง จำนวน 208 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์พหุถดถอย

ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 44 ปีจบการศึกษาระดับประถมมีสถานภาพสมรส ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีสมาชิกในครัวเรือน 5 คนขึ้นไป มีรายได้ครัวเรือน 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน โดยเกือบครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตส่วนการมีส่วนร่วมของสมาชิก ด้านการตัดสินใจ ด้านการดำเนินงาน ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการตรวจสอบและประเมินผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในด้าน ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันมีการปรับใช้ในอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกมีความรู้ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมาก และการมีคุณธรรมสมาชิกมีการปรับใช้อยู่ในระดับมากเช่นกัน

2)ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนตำบลสะลวง ด้านการจัดการ ด้านการผลิต และด้านการตลาด พบว่า  มีความเข้มแข็งอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 ด้าน 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของวิสาหกิจ

ชุมชนตำบลสะลวง ได้แก่ การศึกษา สถานภาพ อาชีพ สมาชิกครัวเรือนการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม การมีส่วนร่วม ความรู้และการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig.<0.05)

Strengts of the community enterprises of saluang sub-district,

 maerim district chiangmai province

The objectives of this study were to explore:  1) community context socio-economic attributes of bio-life participation and application in sufficiency economic of community enterprise of Saluang sub-district; 2) the strengths of community enterprises of Saluang sub-district; 3) The factors effecting on the strengths of community enterprises of Saluang sub-district, Maerim district, ChiangMai province;. The sample group in this study consisted of 208 numbers of community enterprise of Saluang members sub-district,. A set of questionnaires was used for date collection and descriptive statistics and chi-square were employed.

Findings showed that most of the respondents were male, 44 years old on average, married, and primary school holders. Had5 family members above, an income 5000 - 10000 bath per month. Half of the respondents had been members of saving for product group. The participation of members included Decision, Operations, beneficiary, Monitoring and evaluation were overall moderate. The deployment sufficiency in the moderation, reasonableness and self-immunity is deployed in the middle level. The knowledge finds that more than half of the members are knowledgeable about the sufficiency in high level. And moralities members are deployed high level2) the strength of the community and district Saluang. Management of manufacturing and marketing experience that has strengthened in all 3 of 3) factors affecting the strength of the community and district Saluang including educational status, occupation, household members. Membership of social groups participation Knowledge and deployment philosophy is strongly correlated with statistically significant (sig. <0.05)


Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ไพบูลย์ พันธุวงศ์, สาขาพัฒนาทรัพยากรชนบท มหาวิทยาลัยแม่โจ้

-

References

-