การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคลองสำโรงจังหวัดสงขลา โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่บริเวณคลองสำโรงจังหวัดสงขลา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-Information
Technology) ประกอบด้วย การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมจากกูเกิลเอิร์ธ (Google Earth) ปี พ.ศ. 2558 เพื่อศึกษาพื้นที่ในปีปัจจุบัน การใช้ภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารในปี พ.ศ. 2509, 2520 และภาพถ่ายออร์โธสี ปี พ.ศ.2545 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นที่ในอดีต และนำมาเปรียบเทียบเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โดยทั่วไปในปัจจุบัน โดยการซ้อนทับ (Overlaying) การทำบัฟเฟอร์ (Buffering) รัศมี 100-500 เมตร และรัศมี 6 เมตร การดิจิไตซ์ (Digitizing) และการแปลผลด้วยสายตา (Visual Interpretation) ตลอดทั้งเพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการลงพื้นที่ภาคสนาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ควบคู่ด้วย
ผลจากการศึกษาวิจัย โดยการซ้อนทับ (Overlay) แผนที่อดีตกับแผนที่ในปัจจุบัน การทำบัฟเฟอร์ (Buffering) รัศมี 100-500 เมตร และรัศมี 6 เมตร การดิจิไตซ์ (digitizing) และการแปลผลด้วยสายตา (Visual Interpretation) โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ปรากฏว่า สภาพพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากอดีตคลองสำโรงมีความกว้างประมาณ 45 เมตร แต่ปัจจุบันส่วนที่กว้างที่สุดอยู่บริเวณท้ายคลองฝั่งทะเลสาบสงขลาประมาณ 40 เมตร และฝั่งปากคลองติด อ่าว ไทย กว้างประมาณ 25 เมตร ส่วนที่แคบที่สุดประมาณ 4 เมตร
อยู่ระหว่างชุมชนริมคลองสำโรง ฝั่งเทศบาลนครสงขลา และหมู่ที่ 10 ฝั่งเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ในอดีตเรือสามารถผ่านได้ตลอดสาย ปัจจุบันเรือไม่สามารถผ่านได้ตลอดเนื่องจากมีสิ่งปลูกสร้างกีดขวาง และจากการศึกษาภาพถ่ายย้อนหลังพบว่า พื้นที่ในอดีตนั้นแทบจะไม่มีสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่อยู่เลย โดยพื้นที่คลองสำโรง ในปี 2509 ในรัศมี 500 เมตร มีทั้งสิ้นมีประมาณ 2,926 ไร่ หรือ 4,682,648.02 ตารางเมตร เปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนเมืองและสิ่งปลูกสร้าง คิดเป็นร้อยละ 1.77% หรือ 52.95 ไร่ ปี 2520 คิดเป็น 7.17% 209.95 ไร่ ปี 2545 คิดเป็น 30.76% หรือ 900.15 ไร่ และในปัจจุบันปี 2558 คิดเป็น 59.11% หรือ 1729.99 ไร่ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนเมืองเกือบตลอดแนว และเหลือเป็นพื้นที่อื่น ๆ เพียง 1,196.73 ไร่ คิดเป็น 40.89% และในรัศมี 6 เมตรจากคลองสำโรง หลังปี พ.ศ. 2545 ชุมชนเก้าเส้งเป็นชุมชนที่มีการตั้งบ้านเรือนอยู่มากที่สุด คิดเป็น 17,111.27 ตร.ม. และรองลงมาคือ ชุมชนริมคลองสำโรง คิดเป็น 3,077.08 ตร.ม. กลายเป็นแหล่งชุมชนแออัด และมีปัญหา โดยสรุปจากผู้ให้สัมภาษณ์ 23 คน ได้ 10 ปัญหาหลัก คือ ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นเข้ามาทำงานทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ริมคลอง 78.26% ปัญหาน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น 78.26% ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล 65.22% ปัญหาการปล่อยน้ำเสียของโรงงานและชุมชนโดยไม่ผ่านการบำบัด 47.83% ปัญหาการปล่อยปละละเลยจากเจ้าหน้าที่ 43.48% ปัญหาลำคลองตื้นเขิน 26.09% ปัญหาวัชพืชน้ำหนาแน่น 26.09% ปัญหาการสร้างส้วมลงคลองโดยตรง 21.74% ปัญหาจากมรสุมนำทรายมาปิดปากคลองทำให้น้ำในคลองนิ่งและเน่าเสีย 21.74% และปัญหาการขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการดูแลคลอง 8.70% ตามลำดับ วิกฤตที่เกิดขึ้นในคลองสำโรงทั้งหมดล้วนมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากคนที่ใช้ประโยชน์จากคลองสำโรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพและความสวยงามของเมืองสงขลา
Application Geo-Information Technology to Study the Change of Khlong Samrong in Songkhla Province, Thailand
The objectives were to study the change of Khlong Samrong in Songkhla Province from the past to the present by using Geo-Information Technology: GIS, GPS, Aerial Photo from the Royal Thai Survey Department in 1966, 1977 and Orthophoto map in 2002 to study the part, Satellite images from Google Earth in 2015 to study the current year. Then bring all the digital image files to Geometrics correction from image to map and create the Geo coordinate all photos and comparing all images to show the changing by Overlaying, Buffering, Digitizing and Visual Interpretation. Furthermore, also study the issue of the canal by surveying, interviewing and observation by the percentage.
The results of the study by the Overly, Buffering, Digitizing and Visual Interpretation by using ArcGIS 10. This study found that the canal has changed dramatically. In the past, the canal has a width of approximately 45 meters and all the boat could pass through the line. Currently, the boat cannot pass through due to obstruction poaching. Nowadays, the widest area of Khlong Samrong is about 40 meters at the area next of Songkhla Lake Basin at the end of Canal. The start of Canal at the Gulf of Thailand about 25 meters on the Kaoseng community, and the narrowest is about 4 meters which is between Rim Khlong Samrong community in Songkhla Municipality and Moo 10 in Kaoroopchang Municipality. In previous times, the canal hardly to find the building but the present almost both side of Khlong Samrong plentifully buildings. The area within a radius of 100-500 meters in Khlong Samrong there are approximately 2,926 Rai or 4,682,648.02 square meters in 1966 to a city and buildings 1.77% or 52.95 Rai, in 1977, representing 7.17% or 209.95 Rai, in 2002, 30.76% or 900.15 Rai and the current year 2015, representing 59.11% or 1,729.99 Rai. The area has been changed into urban communities throughout the line, and became the other area is only 1196.73 Rai or 40.89%. Then create buffer area 6 meters in radius from the canal by using the Aerial photo in 2002. The map shows that Kao Seng community is a community that has been living in the most was 17,111.27 sq.m., and the second is Rim Khlong Samrong Community is 3077.08 sq.m. Currently, Kao Seng and Rim Khlong Samrong community become slums, and there are many problems can be summarized as 10 problems. The first, encroachment along the canal 78.26%, the second fetid water 78.26%, garbage 65.22%, factory and people release the waste water by cannot untreated 47.83%, abandoned by the authorities 43.48%, shoal canal 26.09%, density of aquatic weeds 26.09%, 21.74% buildings the toilet directly into the canal, 21.74% for storm brought the sand to closed the placate canal, lack of the equipment tool for maintain the canal 8.70%.
The results from the survey and from the image to view a sight that conditions have changed significantly. The past hardly to find the buildings, but nowadays plenty of buildings and become a slum, poaching, water pollution, fetid water, solid waste and sewage, aquatic weeds. All the problems are caused by the humans and affected to the beautiful city of Songkhla Province.
Downloads
Article Details
References
-