รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเหล่า ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พรชัย เพียรพล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเหล่าในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะศึกษา 4 ส่วน ส่วนที่ 1 ศึกษาบริบทของชุมชน ส่วนที่ 2 ศึกษาศักยภาพของชุมชน ส่วนที่ 3 ศึกษารูปแบบของชุมชน ส่วนที่ 4 พัฒนาจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน พื้นที่ในการวิจัย คือ ชุมชนบ้านเหล่า หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองก๋าย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 140 ครัวเรือน 287 คน ผลการวิจับพบว่า ชุมชนบ้านเหล่ามีลักษณะโครงสร้างที่เอื้อต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ศักยภาพของชุมชน พบว่า ชุมชนบ้านเหล่ามีการจัดตั้งกฎระเบียบด้านการท่องเที่ยว รูปแบบการจัดการท่องเที่ยว พบว่า ชุมชนบ้านเหล่ามีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ และประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น การพัฒนาจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชน พบว่า ชุมชนบ้านเหล่ามีการกำหนดมาตรการการปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน มีการจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนเอง 

Eco-tourism management model by ban lao the community

participation in mon ngo royal project development

centerChiang mai province

This research is to study the formation of Eco-tourism Management Model by Ban Lao The Community Participation in Mon Ngo Royal Project Development Center The study breaks down into 4 sections 1 To study the context of the community. 2 To allocate the capacity of the community. 3 To examine the formation of the community. 4  To find ways to develop the Ecotourism of 140 households with 287 members within Ban Lao community, Moo 4,   T. Muangkai, A. Maetang  Chiang Mai. To conclude, the studyshows that with its rich nature, tradition and culture, Ban Lao community is an ideal surrounding to promote Ecotourism. Not only that, Ban Lao community design a regulation in order to preserve and protect the natural resources and the way of life within the community by managing its own touring scheme.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พรชัย เพียรพล, สาขาพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

-

References

-