รูปแบบการออมโดยการปลูกไม้ป่าผสมบนพื้นที่ขนาดเล็กสำหรับเกษตรกรภาคเหนือตอนบน (พื้นที่ย่อยที่ 1) ของประเทศไทย

Main Article Content

ประกาศิต มหาสิงห์

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการเสนอรูปแบบของการออมต่างๆ และเสนอรูปแบบการออมทางเลือกโดยการปลูกสวนป่าแบบผสมผสานแปลงเล็ก ซึ่งเหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินอยู่แล้วในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (พื้นที่ย่อยที่ 1) ของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากงานวิจัยของผู้เขียน รูปแบบการออมแบ่งได้เป็น 3 แบบ ตามวัตถุประสงค์และเวลาการออม คือ 1) การออมเพื่อใช้จ่ายระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี 2) การออมเพื่อเหตุจำเป็นเมื่อต้องใช้เงินมากในระยะปานกลางในช่วงเวลา 3 ปี – 10 ปี  และ 3) การออมระยะยาวมากกว่า 10 ปี เพื่อได้เงินมากในระยะยาว เป็นการเก็บเงินไว้เพื่อใช้จ่ายยามชรา ซื้อบ้านใหม่ มอบให้ทายาท เป็นต้นผู้เขียนเสนอรูปแบบการออมทางเลือกระยะยาวอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การปลูกป่าแบบผสมผสานแปลงเล็กในพื้นที่ 15 ไร่ โดยปลูกไม้สัก 14 ไร่ ร่วมกับยางพารา 1 ไร่ ในระยะเวลา 25 ปี การออมตามรูปแบบนี้ เกษตรกรค่อยออมเงินโดยลำดับรวม 231,870.48บาท โดยนำไปใช้จ่ายในการปลูกป่าแบบนี้ เงินออมได้เพิ่มพูนกลายเป็นเงินออม 5,551,077.14 บาท ใน 25 ปีข้างหน้า หากคำนวณเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 3,250,797.12 บาท และอัตราผลตอบแทนของเงินออมในรูปแบบทำกิจกรรมนี้เท่ากับร้อยละ 17.90 ต่อปี นับว่าเงินออมเกิดผลเพิ่มพูนมากเมื่อเทียบกับการออมกับสถาบันการเงิน ซึ่งได้ผลตอบแทนร้อยละ 1.3 ถึง 6 ต่อปี

Form of Saving Through Mixed Woody-Tree Plantation in Small Area for Farmers in the Upper North Region (Sub-Region 1) of Thailand,

This paper presented different forms of saving and introduced an alternative form of saving  through mixed-woody tree plantation model in a small plot suitable for farmers who had already owned the land in the upper north region of Thailand, Sub-region 1. Data for this writing were from the author’s dissertation. There were three types of saving according to purpose and duration. The first type of saving was for spending during short duration not more than three years. The second type of saving was saving for necessary situation that 

needed  more money in moderate duration during three to ten years. The third type of saving was a long term saving of more than ten years for old age living, buying new house, and giving to descendants. The author presented a mixed-woody tree plantation model as long term saving of the third type for farmers by planting teakwood with para rubber trees in 15 rais area for 25 years. This form of saving  the farmer gradually saved up to 231,870.48 baht and used it for this model of wood planting resulted in  increasing money to 5,551,077.41 baht in the next 25 years. From present value estimation, the net present value (NPV) was 3,250,797.12 baht with the 17.90 % internal rate of return (IRR). This was more rate of  return of  saving compared with saving in monetary institutions that earned 1.3 to 6 percent per year.


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
มหาสิงห์ ป. (2017). รูปแบบการออมโดยการปลูกไม้ป่าผสมบนพื้นที่ขนาดเล็กสำหรับเกษตรกรภาคเหนือตอนบน (พื้นที่ย่อยที่ 1) ของประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 129–144. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/77072
บท
บทความวิจัย

References

-