ผลการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคเหี่ยวในพริกชี้ฟ้า ด้วยสารสกัดน้ำจากใบพืชวงศ์ Apocynaceae

Main Article Content

นาตยา ยงกสิการณ์
สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ
เฉลิมชัย วงศ์วัฒนะ

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการระบาดของโรคเหี่ยวเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับพริกชี้ฟ้า ส่งผลให้ผลผลิตและอัตราการส่งออกของพริกชี้ฟ้าลดลง จึงมีการใช้วิธีการกำจัดโรคเหี่ยวที่เกิดจากแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum โดยใช้ชีววิธี เพื่อลดการใช้สารเคมีที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมการวิจัยครั้งนี้จึงสนใจศึกษาสารสกัดด้วยน้ำจากใบพืชวงศ์ Apocynaceae จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ บานบุรีเหลือง ชวนชม ตีนเป็ดแพงพวยฝรั่งบานบุรีแคระบานบุรีม่วง ดาวประดับลั่นทมขาว ลั่นทมแดง ลั่นทมใบศร และบานบุรีหอม เพื่อยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียในระดับห้องปฏิบัติการและยับยั้งการเกิดโรคเหี่ยวจากแบคทีเรีย R. solanacearum ในระยะต้นกล้า ที่ระดับความเข้มข้นของสารสกัด 100, 200, 300, 400 และ 500 mg/mL ผลการวิจัย พบว่า สารสกัดบานบุรีเหลือง 500 mg/mL ให้ผลการยับยั้งการเจริญของ R. Solanacearum ร้อยละ 43.57±4.00 และเมื่อนำไปทดสอบในระยะต้นกล้า โดยใช้ความเข้มข้นของเซลล์แบคทีเรียแขวนลอย 5×105 cfu/mL พบว่าที่ความเข้มข้น 500 mg/mL ลั่นทมใบศร (92.26±0.40) และตีนเป็ด (91.85±0.39) ให้ผลการยับยั้งการเจริญของต้นกล้าดีที่สุด (p < .05) แต่ให้ผลการยับยั้งน้อยกว่า Bacillus subtilis ซึ่งเป็นตัวควบคุมให้ผลบวก และเมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของสารสกัดในระดับห้องปฏิบัติการและในระยะต้นกล้าพริกชี้ฟ้า พบว่า ให้ผลแตกต่างกัน ความเข้มข้นของสารสกัดจากใบพืชวงศ์ Apocynaceae สามารถทำให้ต้นกล้าพริกเจริญเติบโตได้ดีที่สุดและลดความรุนแรงของโรคในระยะต้นกล้าพริกชี้ฟ้าอยู่ในช่วง 300 – 500 mg/mL

 In hibition effect on bacterial wilt in Capsicum annuum L.

using a queous extracts of Apocynaceae leaves

The spread of the wilt diseases in Capsicum annuum L. is a currently major problem that can reduce the product and export rate of chilli. The bacterial wilt diseases were decreased by using biological control to reduce the use of chemicals causing harm tohuman and environment. This research aimed at studying the effect of aqueous leaf extracts of 11 species in Apocynaceae (i.e.,Allamanda cathartica L., Adeniumobesum, Catharanthusroseus (L.) G. Don., Alstoniascholaris (L.) R. Br., Allamandacathartica L.,A. blanchetiiL., Cryptostegia grandiflora R. Br., Plumeriaobtusa L. ,P. rubra L., P. pudica Jacq., and Odontadeniamacrantha) on inhibiting the bacterial growth in the laboratory scale and wilt disease from  R. solanacearumat seedling stage of chilli. The concentrations of extracts were 100, 200, 300, 400 and 500 mg/mL. The results showed that Allamanda cathartica L.(43.57±4.00) at concentration 500 mg/mL gave the highest inhibition to the bacterium. When tested at seedling stage of chilli plants by using the cell suspension of 5×105cfu/mL, the lowest disease lesions were presentedby using the leaf extracts from P.  pudica Jacq. (92.26±0.40), and Alstonia scholaris (L.) R. Br. (91.85±0.3 ) (p < .05), but less than Bacillus subtilis, the positive control. In addition, the results   from laboratory scale and at seedling stage of chilli plants were different. The concentrations of leaf extracts of Apocynaceae that can reduce the disease severity at seedling stage of chilli plants were in a range of 300 – 500 mg/mL.


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นาตยา ยงกสิการณ์, สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

-

References

-