การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเตือนภัยพิบัติน้ำท่วม เมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

นรเทพ ศักดิ์เพชร
แก้ว นวลฉวี
สุพรรณ กาญจนสุธรรม
ณรงค์ พลีรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเตือนภัยพิบัติน้ำท่วมเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยใช้โปรแกรมประยุกต์บนเว็บเชิงพื้นที่สำหรับการทดสอบในพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งวิธีการศึกษาได้ดำเนินการพัฒนาโปรแกรมโดยการพัฒนาต่อยอดจาก Google Maps API เป็นแกนหลักในการพัฒนาโปรแกรมด้านเชิงพื้นที่ ทำให้ระบบมีความถูกต้องและบอกสถานที่ผ่านทาง KML File ที่ได้บันทึกค่า Latitude และLongitude ไว้ในระบบ ทำให้ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ มีความถูกต้องและยังมีการแนะนำสถานที่ ข้อมูล จุดเสี่ยงภัยน้ำท่วม และสถานการณ์ต่างๆ ไว้ในระบบ สำหรับการจัดการฐานข้อมูลใช้โปรแกรม MySQL ในส่วนผู้ใช้งานของฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) กับฝั่งไคลเอ็นต์ (Client) ได้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา PHP ในการประมวลผลและเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า โปรแกรมมีความสามารถดังนี้ คือ 1) สามารถแสดงตำแหน่งพิกัดของผู้ใช้งาน และสามารถเก็บข้อมูล ตำแหน่ง พิกัด รูปภาพ และข้อความ จากการรายงานเข้ายังระบบ 2) สามารถรายงานสถานการณ์เชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์และยังสามารถกำหนดระดับความรุนแรงเป็นจุดหรือขอบเขตเชิงพื้นที่เป็นรัศมีวงกลม ตามระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3) การเลือกใช้โปรแกรมทั้งหมดเป็นประเภทโอเพนซอร์ส (Open Source) ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายและค่าลิขสิทธิ์เพื่อวัตถุประสงค์การใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อการส่งเสริม การพัฒนาระบบงาน ทำให้ผู้ที่สนใจและเห็นประโยชน์จากการพัฒนา สามารถนำระบบไปพัฒนาต่อหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับองค์กรในพื้นที่ได้ 

Development of Geospatial Web Application for Flood Disaster Warning Support of Hat Yai District, Songkhla Province

The objective of this research study were to develop the geospatial web application to support flood warning of Hat Yai District, Songkhla Province by using the geospatial web application for testing. In the study, the development of geospatial web application for further developing Google Map employing API for valid location identification; location data of places are input as a KML file recording the degree of latitude and longitude for accuracy. In addition, suggestions as to place, information, flood risk area, and other situations are included in the system. For the users of Server side and the Client side system, the program was designed and developed by utilizing PHP language for using in processing and connecting to the database. The results show that the application is able to 1) identify the location of the user's coordinates, and collect details in graphical and text forms 2) report the real-time situations 3) open-source development free of payment or fees to support efficient mutual data sharing and promote the operational development.  Those who are interested in the development can further study and improve the program appropriate for the local organization.  


Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นรเทพ ศักดิ์เพชร, สาขาภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

-

References

-