วาทกรรมทางการสื่อสารเพื่อการหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

ฐิติมา อินกล่ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “วาทกรรมทางการสื่อสารเพื่อการหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างที่ถูกหลอกลวง 2) ลักษณะการถูกหลอกลวง 3) องค์ประกอบของวาทกรรมที่มีผลต่อการถูกหลอกลวง และ 4) ผลกระทบจากการถูกหลอกลวงเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่ถูกหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 16 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

กลุ่มตัวอย่างที่ถูกหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุสูงสุด 73 ปี อายุต่ำสุด 20 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ย 29,000 บาท/เดือน รายได้สูงสุดคือ 50,000 บาท/เดือน และรายได้ต่ำสุดคือ 6,000 บาท/เดือน มีอาชีพรับราชการ ทำธุรกิจ พนักงานเอกชน เกษตรกร และนักศึกษาตามลำดับ ส่วนใหญ่สมรสแล้ว ด้านลักษณะการถูกหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ย 115,889 บาท มูลค่าความเสียหายสูงสุด 320,000 บาท และต่ำสุด 1,000 บาทผู้เสียหายจำนวน 5 คน ทราบทันที ว่าถูกหลอกให้ทำธุรกรรมผ่านเครื่อง ATM และจำนวน 5 คนเช่นกัน ทราบว่าถูกหลอกภายในระยะเวลา 1-3 วัน โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นช่องทางหลักในการสื่อสาร รองลงมาคือการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ร่วมกับสื่อออนไลน์ และส่วนใหญ่ทำธุรกรรมผ่านเครื่อง ATM วาทกรรมที่มีผลต่อการถูกหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ องค์ประกอบและการนำเสนอส่วนองค์ประกอบ ได้แก่  1) ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสาร(มิจฉาชีพ) 2) ปัจจัยด้านเนื้อหาและวาทกรรม และ 3) ปัจจัยด้านบริบทของผู้รับสาร ได้แก่ บริบทด้านสถานการณ์ เงื่อนไขเวลา ด้านจิตวิทยา ส่วนเทคนิคการนำเสนอวาทกรรมประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ การสร้างความสนใจ การสร้างความ 

ต้องการหรือปัญหา ทางออกของปัญหา การอธิบายให้เห็นภาพ และการให้ลงมือปฏิบัติ ที่ส่งผลให้เหยื่อหลงเชื่อกลอุบายของมิจฉาชีพ และทำให้เกิดผลกระทบกับเหยื่อในด้านจิตใจ สุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม

Communication Discourse for Fraudulent Financial

Transactions Through Online Electronics

The study of “Communication Discourse for Fraudulent Financial Transactions Through Online Electronics” is a qualitative research, using an in-depth interview as a tool in collecting information. In the study, 16 samples, who had been defrauded in online financial transaction through electronic machines in Uttaradit province, were collected. The results of the study are as follows.

It was found that the fraud in online financial transaction through electronic machines leads to the average damage of 115,889 baht while the highest cost of damage and lowest cost of damage are 320,000 baht and 1,000 baht respectively.5 victimized samples knew immediately that they had been defrauded after making a transaction via ATM. The other 5 samples realized it within 1-3 days. Mobile phones are used as the main mean of fraudulent communication while mobile phones with online networks come at the second place. Additionally, the majority of the defrauded financial transaction was found to be made via ATM. Communication discourse causing fraudulent financial transactions through online electronics is composed of two main parts; components and presentation. The componential parts include 1) the reliability of the sender (fraud) 2).The content of defrauding discourse and 3) the contexts of the receivers such as situational, psychological, and time conditions. Meanwhile, the presentational technics of discourse are consisted of 5 stages which are attention drawing, need or problem building, solution giving, demonstrating and actual performing.  All of these influence the victims to follow the trap set by the frauds. As a consequence, the victims are being affected in terms of mental, physical, economic and social aspects respectively. 


Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
อินกล่ำ ฐ. (2017). วาทกรรมทางการสื่อสารเพื่อการหลอกลวงทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ผ่านเครื่องอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 85–100. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/77066
บท
บทความวิจัย
Author Biography

ฐิติมา อินกล่ำ, สาขาสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

-

References

-