ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ในอำเภอสังข์ทอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป ลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล ด้านการสื่อสาร ระดับความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับมาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 3) เปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติจำแนกตามรูปแบบหรือช่องทางการติดต่อสื่อสารหลักของครอบครัว โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และเก็บแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานการผลิตระบบอินทรีย์ จำนวน 197 ราย ใช้การวิเคราะห์สถิติอนุมาน วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธ์เส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45 ปี มีสถานภาพสมรถ จบการศึกษาระดับขั้นประถม มีประสบการณ์ในการทำเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 7 ปี จำนวนแรงงานรวมเฉลี่ย 40 คน มีพื้นที่นาเป็นของตนเองทั้งหมด พื้นที่นาข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 7.91 ไร่ มีสัดส่วนการกู้ยืมเงินทุนเฉลี่ย ร้อยละ 71.70 มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 65,867 บาทต่อปี โดยที่ส่วนใหญ่มีรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบกลุ่มเป็นหลัก มีความถี่ในการติดต่อสื่อสารผ่านบุคคลมากที่สุดเฉลี่ย 5 ครั้งต่อปี และเนื้อหาเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับข้อมูลมากที่สุดได้แก่ การเตรียมพื้นที่การผลิต กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์รวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง และมีทัศนคติต่อมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รวมทุกด้านในระดับดี ตลอดจน มีระดับการยอมรับปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อระดับการยอมรับปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มากที่สุดคือ ทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig <.01) และปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุด คือ ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig <.05)มีช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบบุคคลเป็นหลักจะมีระดับความรู้ต่ำกว่ากลุ่มที่มีการติดต่อแบบกลุ่มและแบบมวลชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig <.01) กลุ่มที่มีช่องทางการติดต่อสื่อสารแบบกลุ่มกับมีทัศนคติและระดับการยอมรับปฏิบัติที่ต่ำกว่ากลุ่มที่มีการติต่อสื่อสารในรูปแบบแบบอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig <.01) และ (sig <.05) ตามลำดับ
Casual factors effecting the adoption of organic standards by rice organic farmers in sangthong district, vientiane capital, lao pdr
The objectives of this study were to: 1) explore personal data on communication; 2) explore a level of knowledge, attitude, and adoption of organic farming Standards by farmers producing organic rice; 3) explore causal factors influencing the adoption of organic farming standards of the farmers; 4) compare a level of knowledge, attitude, and practice based on farms on Main communicative channels of family; and 5) explore problems encountered and suggestions of the farmers. An interview was used for data collection administered with 197 farmers receiving an organic production standards certificate obtained data were analysis of Descriptive statistical coefficient path causal relationship an variance was also conducted.
Results of the study revealed that most of the informants were male, 45 years old on average, married, elementary school graduates, and they were member of organic rice growers group less than one-half of the informants (45.20%) had experience in organic farming for 7 years on average. The informants had 40 workforces on average and all of them had their own rice field 7.91 rai on average. Most of them (71.10%) had no plan to change their rice field to be an organic system. Most of the informants (71.70%) used their own capital for organic rice production. The informants mainly earned an income from crop growing and they earned an income from the agricultural sector for 65,867 bath per year on average. Most of them mainly contracted one another in the form of group communication with the highest frequency of 5 times per year on average. Land preparation for production was an organic farming content which the informants perceived most.
Most of the informants had a moderate level of knowledge about organic farming but a moderate level score fully attitude towards organic farming standards at a high level. They adopted organic farming standards at a moderate level. Attitude and data on information perception were factors directly influencing the level of the adoption of organic farming standards However, knowledge level and family income were factors having indirect influence most with a statistical significance level (Sig < .05). Regarding a comparison of the difference in an average mean score among the 3 communicative channels mainly of informants, it was found that knowledge attitude and adoption of organic farming all communicative channels has differenced with a statistical significance level (Sig < .05) respectively.
Downloads
Article Details
References
-